กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง 2) สร้างกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง 3) นำเสนอกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก รวม 19 รูป/คน และสนทนากลุ่มจำนวน 9 รูป/คน ใช้สถิติหรือวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาอธิบาย ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง พบว่า ในบางครั้งไม่ต่อเนื่อง ความหลากหลายในการนับถือศาสนา ทำให้ผู้เผยแผ่ต้องปรับปรุงรูปแบบวิธีการที่หลากหลาย การที่จะเข้าถึงได้ต้องมีความเข้าใจวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง กลุ่มชาติพันธุ์ม้งมีความเข้าใจว่าการมานับถือพระพุทธศาสนาอาจทำให้วัฒนธรรมเปลี่ยนไป เพราะมีวัฒนธรรมประเพณีคติความเชื่อที่แตกต่างจึงยากต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2) กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง พบว่า กระบวนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง นอกจากพระธรรมจาริกจะสอนตามช่วงชั้นต่างๆ แล้วได้นำกระบวนการฝึกอบรมเข้าค่ายคุณธรรม มีการบวชภาคฤดูร้อน เน้นสังคมสงเคราะห์เป็นหลักในการเผยแผ่และพัฒนา และ 3) นำเสนอกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง พบว่า พระธรรมจาริกต้องใช้กลยุทธ์เผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ทั้ง 8 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านศีลธรรมวัฒนธรรม (2) ด้านสุขภาพอนามัย (3) ด้านสัมมาชีพ (4) ด้านสันติสุข (5) ด้านศึกษาสงเคราะห์ (6) ด้านสาธารณสงเคราะห์ (7) ด้านกตัญญูกตเวทิตาธรรม (8) ด้านสามัคคีธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จาริก-ไฮแลนด์. (2553). จดหมายเหตุพระธรรมจาริกแห่งแผ่นดิน ที่ระลึกเนื่องในงานฉลอง 45 ปี โครงการพระธรรมจาริก 2508-2553. กรุงเทพฯ : ไทยนิวส์.
ตำบลเข็กน้อย. (2563) จำนวนประชากรและหลังคาเรือน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. ข้อมูล ณ เดือน กุมภาพันธ์. (อัดสำเนา)
นาวิน วงศ์รัตนมัจฉา. (2554). ผลสัมฤทธิการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูของพระธรรมจาริก. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระตาล ณาณธโร (สิงห์ทอง). (2558). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริก ในสองทศวรรษหน้า. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอรุณเมธี พุทธิภัทรานันท์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุนชนบนพื้นที่สูงของโครงการพระธรรมจาริกในพื้นที่ภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา). คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Denzin, N. K. & Lincoln, Y. S. (2000). Handbook of Qualitative Research. Thousand Oaks, Calif : Sage Publications.