แนวทางการดำเนินเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร 2) ศึกษาหลักคุณธรรมที่ส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร และ 3) การนำเสนอแนวทางการดำเนินเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน และการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร พบว่า เมื่อเกษตรกรได้ดำเนินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ตัวเองและสังคมมีการพัฒนาด้านจิตใจ และปัญญา โดยการทำงานด้วยความขยัน รู้จักเก็บรักษาทรัพย์สมบัติ ใช้จ่ายแต่พอเหมาะแก่ฐานะ เมื่อมีงานทำแล้วต้องรู้จักประมาณในการใช้จ่ายรู้จักแบ่งปันแก่เพื่อนบ้าน สั่งสมบุญโดยการทำทาน ซึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ มีคุณภาพชีวิตที่ดี 2) หลักคุณธรรมที่ส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร พบว่า เมื่อเกษตรกรได้ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมแล้ว นำมาเป็นแนวทางการในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม เป็นผู้มีความรัก ความเมตตา ความเสียสละ และการให้อภัย ทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร ทำให้มีชีวิตและครอบครัวอยู่ร่วมกับสังคมอย่างสงบสุข สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ 3) การนำเสนอแนวทางการดำเนินเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธบูรณาการ พบว่า การปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ครอบครัวมีอยู่ มีกิน ไม่ขาดแคลน คนในครอบครัวไม่ต้องทิ้งบ้านเรือนเพื่อไปหางานทำในต่างถิ่น คนในชุมชนมีความสมัครสมานสามัคคีกัน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนร่วมกัน เศรษฐกิจพอเพียงทำให้ระบบเศรษฐกิจในประเทศมีความเข้มแข็ง เป็นระบบเศรษฐกิจพึ่งตนเอง ไม่ผลิตเพื่อขายหรือส่งออกอย่างเดียว เมื่อมีปัญหาด้านเศรษฐกิจประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบน้อยเพราะเกษตรกรที่บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสามารถผลิตสินค้าใช้เองได้ ทำให้เกษตรกรมีหลักในการปรับปรุงและพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2562). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). กรุงเทพฯ : มูลนิธิสิริวัฒนภักดี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน).
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ (วันยาว). (2547). ความรู้จักพอประมาณในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงในพระราชดําริ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มนูญ มุกข์ประดิษฐ์. (2542). จิตวิทยาตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพฯ : คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สายยุทธ์ รัตนวิสิทธพันธ์. (2551). หลักพุทธธรรมในการพึ่งตนเองตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง:กรณีศึกษาเกษตรกรชาวบ้านบ้านหนองบัวดีหมี ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (สำนักงาน กปร.). (2555). จอมปราชญ์แห่งการพัฒนา. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).