วิเคราะห์การเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธตามหลักการแพทย์แผนไทย

Main Article Content

พิสันต์ สุขพูล
พระศรีสมโพธิ
ศิริโรจน์ นามเสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการแพทย์แผนไทย 2) ศึกษาการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธ และ 3) วิเคราะห์การเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธตามหลักการแพทย์แผนไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากพระไตรปิฎก คัมภีร์การแพทย์แผนไทย ตำราที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาวะ เอกสาร หนังสือ บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบเนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การแพทย์แผนไทยมีกระจายชุมชน หมู่บ้าน ตำบล และเมือง ในแต่ละชุมชนมีหมอกลางบ้าน และหมอพระ รักษาผู้เจ็บป่วยด้วยสมุนไพร และการรักษาโดยวิธีทางพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์ รวมทั้งการรักษาแบบพื้นบ้านในแต่ละภาคมีการรักษาตามละแต่ถิ่นฐานภูมิภาคนั้น ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเห็นความ สำคัญของการรักษาพยาบาลตามแนวแพทย์แผนไทย จึงทรงได้ฟื้นฟูอย่างจริงจัง ทรงเห็นว่าการแพทย์แผนไทยอาจสูญไปได้ จึงเกิดการชำระคัมภีร์แพทย์แผนไทย ซึ่งเรียกว่า ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง 2) การเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธ ความรู้เรื่องสุขภาวะ ความรู้เกี่ยวกับโรค การดูแลในพระพุทธศาสนาช่วงสุขภาวะปกติและเจ็บป่วย ได้แก่ การเสริมสร้างสุขภาวะ และการป้องกันโรค การบำบัด และการฟื้นฟูสมรรถภาพในภาวะเจ็บป่วย ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเรื่องสุขภาวะ แบ่งออกได้ 4  ด้าน คือ สุขภาพกาย จิต สังคม และปัญญา และ 3) วิเคราะห์การเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธตามหลักการแพทย์แผนไทย สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา และประกอบด้วย รูป นาม และการสร้างเสริมสุขภาวะเชิงพุทธจะต้องนำหลักการแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้ในสุขภาวะเชิงพุทธดังนี้ 3.1) สุขภาวะทางกาย ที่มีการดูสุขภาพร่างกายที่ดี หรือการกินดีอยู่ดี 3.2) สุขภาวะทางจิตวิญญาณ คือ การทำจิตใจให้สะอาด สงบ ไม่เครียดและไม่ซึมเศร้า 3.3) สุขภาวะทางสังคม คือ การมีความสัมพันธ์ที่ดีมีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน เกื้อกูลช่วยเหลือกัน 3.4) สุขภาวะทางสติปัญญา คือ การแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ และสามารถปรับตัวให้เข้ากันได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2547). คู่มือประชาชนในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

ทินพันธ์ นาคะตะ. (2546). พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

บุญเติม ปิงวงค์. (2558). การบูรณาการการแพทย์แผนไทยกับการดูแลสุขภาพในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาวัดส่งเสริมสุขภาพชุมชนในเขตภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม. ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการไพศาล กิตฺติภทฺโท. (2546). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องการประยุกต์ใช้พุทธปรัชญาในการบำรุงรักษาจิตผู้ป่วย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.