กระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ภาสกร ฝั้นอ้าย
ณัฐิยา ตันตรานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษา และ2) ประเมินกระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการพัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษามีทั้งสิ้น 18 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนหลักสูตรทวิศึกษา ผู้รับผิดชอบงานหลักสูตรสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และอาจารย์มหาวิทยาลัย สำหรับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมินกระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษามีทั้งสิ้น 6 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ อาจารย์มหาวิทยาลัย และบัณฑิตศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ และแบบประเมินกระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษา ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีขั้นตอนการดำเนินงาน 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) ขั้นการบริหารจัดการ (2) ขั้นการพัฒนาหลักสูตร (3) ขั้นการรับนักศึกษา (4) ขั้นการจัดการเรียนการสอน (5) ขั้นการวัดและประเมินผล และ (6) ขั้นการนิเทศติดตามผล และ 2) การประเมินกระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.28, S.D. = 0.50)

Article Details

How to Cite
ฝั้นอ้าย ภ., & ตันตรานนท์ ณ. . (2024). กระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 147–162. https://doi.org/10.14456/jra.2024.40
บท
บทความวิจัย

References

คำภาสน์ บุญเติม. (2561). ปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 20(2), 25-32.

ณัฐกานต์ สุทธิจิตร์. (2562). แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ณัฐพล ไชยยงค์. (2564). แนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาเรียนร่วมของหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) วิทยาลัยเทคนิคน่านที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ธงชัย จันทร์ปัญญา, อุรสา พรหมทา และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 มหาสารคาม. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(79), 41-48.

นันทยา วงศ์ชัย และณัฐิยา ตันตรานนท์. (2565). แนวทางการบริหารงานนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากัลยาณิวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 12(3), 486-499.

นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล. (2560). การพัฒนาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 21-33.

บุญเอื้อ โสภิณ. (2555). การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการรับนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ภาสกร ฝั้นอ้าย และณัฐิยา ตันตรานนท์. (2565). การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรทวิศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารครุศาสตร์ราชภัฏเชียงใหม่, 1(3), 1-14.

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์, จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์, ศศิธร กาญจนสุวรรณ และสุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2561). รูปแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 15(1), 202-216.

วินัย ทาพันธ์ และอดุลย์ วังศรีคูณ. (2565). การศึกษาสภาพการดำเนินงานการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 37-50.

วิบูลอร นิลพิบูลย์. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศศลักษณ์ บุณยรักษ์, เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต และปัญญา ธีระวิทยเลิศ. (2565). รูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(45), 431-444.

สุกัญญา จัตุรงค์ และอภิชาต เลนะนันท์. (2559). การบริหารหลักสูตรที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษภาคใต้ กลุ่ม 7. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 1473-1487.

เสรี ภักดี. (2564). กระบวนการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดยะลา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

เหมือนฝัน วงเดช, ภูวดล จุลสุคนธ์ และเฉลิมชัย หาญกล้า. (2562). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี. วารสารลวะศรี วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 3(1), 133-148.

อุเทน ฮ้อสิทธิสมบูรณ์, พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ และวินัย ทองมั่น. (2566). กลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักอิทธิบาท 4. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 241-256