มาตรการทางกฎหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย

Main Article Content

วศิน สุวรรณรัตน์
ธานี วรภัทร์
วิเชษฐ์ สินประสิทธิ์กุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับพืชกัญชาทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาวิเคราะห์พืชกัญชา ทบทวนผลของกัญชาต่อร่างกายและภาวะทางจิต รวมถึงสุขภาวะต่าง ๆ โดยเฉพาะขนาดของ delta-9-THC ที่มีในกัญชาว่ามีผลต่อร่างกายและจิตใจ ปัญหาอุปสรรคของการนำมาใช้และการควบคุมการใช้โดยเฉพาะในมิติทางกฎหมายไทย เปรียบเทียบกับแนวทางการนำมาใช้ในต่างประเทศ และ 3) กำหนดแนวทาง และมิติในทางกฎหมายเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่กำกับดูแลสามารถควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์จากพืชกัญชาประเภทต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษากฎหมายไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พืชกัญชา และการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายอาชีพ จำนวน 10 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า 1) กฎหมายเกี่ยวกับกัญชาในประเทศไทยขณะนี้ได้เปิดเสรี ภายใต้การควบคุมแล้วและเป็นกฎหมายที่ส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย สำหรับผู้ประกอบการในการทำอุตสาหกรรมกัญชาในลักษณะต่าง ๆ 2) กัญชาให้คุณประโยชน์ในทางยาและการบริโภค แต่ในการบริโภคมากเกินไปก็เกิดโทษต่อร่างกายได้ ในต่างประเทศได้มีการออกกฎหมายมหาชนมาในรูปแบบของกฎหมายทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อกำหนดกรอบของการปลูก การครอบครอง และการใช้กัญชาเพื่อการบริโภคในครัวเรือน เพื่อการดูแลในด้านสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคและความปลอดภัยของสังคม และ 3) ต้องจัดระบบและกฎหมายในการควบคุมการเพาะปลูก การแปรรูป และการจำหน่าย การบริโภค ทุกขั้นตอน การควบคุมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อป้องกันอันตรายจากผลิตภัณฑ์กัญชา เป็นมาตรการทางกฎหมายที่สำคัญที่ต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างมากในประเทศไทย เพื่อมาตรฐานการบริโภคกัญชาที่ปลอดภัย อันเป็นการลดอันตรายจากการใช้กัญชาได้

Article Details

How to Cite
สุวรรณรัตน์ ว. ., วรภัทร์ ธ. ., & สินประสิทธิ์กุล ว. . (2023). มาตรการทางกฎหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย. วารสารวิจยวิชาการ, 6(5), 329–346. https://doi.org/10.14456/jra.2023.120
บท
บทความวิจัย

References

กอบกูล จันทวโร และคณะ. (2559). รายงานการศึกษาและข้อเสนอทางกฎหมายสำหรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติด เพื่อเป็นข้อเสนอในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติสมันพิเศษ (UNGASS). กรุงเทพฯ : สำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา กระทรวงยุติธรรม.

กำจัด พ่วงสวัสดิ์.(2561). การเสพติด. วารสารกำลังใจ, 6(2), 33-35.

จิรวุฒิ ลิปิพันธ์. (2562). การลดความรุนแรงในการบังคับคดียาเสพติด. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต). คณะนิติศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธานี วรภัทร์. (2562). ผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยในสถานะผู้เสพสารเสพติดประเภทกัญชา. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิมล สุวรรณเกศาวงษ์. (2563). การพัฒนาแนวทางการตรวจจับและประเมินสัญญาณความเสี่ยง/อันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.

Moattia, J.P., et al. (2001). Multiple Access to Sterile Syringes for Injection Drug Users: Vending Machines, Needle Exchange Programs and Legal Pharmacy Sales in Marseille, France. Eur Addict Res, 7(1), 40–45.

See. Steve Sussman. (2017). Substance and Behavioral Addiction : Concept, Causes, and Cures. Cambridge, UK : Cambridge University Press.

United Nations Office on Drugs and Crime, (2009). Confronting unintended consequences: Drug control and the criminal black market. World Drug Report (United Nations) USA. Retrieved from https://www.unodc.org/ documents/wdr/WDR_2009/WDR2009_eng_web.pdf