ระเบียบวินัย: เทคนิควิธีของอำนาจที่ใช้ควบคุมการทำงานของครูปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงเทคนิควิธีของอำนาจที่กระทำผ่านระเบียบวินัยในการควบคุมการทำงานของครูปฐมวัยในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดรัฐบาลและเอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 41 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมกับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า ระเบียบวินัยเป็นเทคนิควิธีของอำนาจที่ควบคุมการทำงานของครูปฐมวัยในมิติต่าง ๆ ได้แก่ 1) การควบคุมผ่านพื้นที่และเวลา 2) การควบคุมผ่านเทคโนโลยี 3) การควบคุมผ่านการแต่งกายและกิริยาท่าทาง 4) การควบคุมผ่านเอกสารเพื่อการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา โดยระเบียบวินัยจะเข้าไปอยู่ในสำนึกของตัวครู จนกลายเป็นร่างกายที่สยบยอมและเชื่อฟัง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของครูและความสำเร็จขององค์กร ซึ่งเป็นเทคนิควิธีของอำนาจที่ถูกนำมาใช้ในองค์กรสมัยใหม่ เป็นอำนาจที่ปราศจากการใช้ความรุนแรงหรือทำให้ร่างกายเจ็บปวด แต่เป็นอำนาจที่เข้าไปควบคุมจิตวิญญาณในการทำงาน ทำให้เกิดเป็นร่างกายที่สยบยอมและเชื่อฟัง ทั้งนี้ นโยบายในระดับกระทรวงและระดับโรงเรียนต้องมีการกำกับควบคุมระเบียบวินัยให้เป็นไปตามกฎหมายทุกระดับ และต้องเปิดโอกาสให้ครูปฐมวัยสามารถตั้งคำถามและต่อรองกับระเบียบวินัยได้ ซึ่งจะทำให้เทคนิควิธีของอำนาจที่กระทำผ่านระเบียบวินัยไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นการรักษาความสมดุลของอำนาจระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ในโรงเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จารุณี วงศ์ละคร. (2561). อำนาจชีวะในทัศนะของ มิเชล ฟูโกต์. วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา, 14(1), 135-162.
ทองกร โภคธรรม. (2547). ร่างกายใต้บงการ ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
เบญจวรรณ บุญแสงโท. (2558). ปฏิบัติการสร้างร่างกายใต้บงการของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 23(2), 151-180.
วัชรี บุญวิทยา. (2561). มองการศึกษาไทยผ่านยุคสมัยของสังคม. ใน ชลิตา บัณฑุวงศ์ และปุรินทร์ นาคสิงห์ (บ.ก.), สังคมและวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย (168-199). กรุงเทพฯ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษวิทยา.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2562). ข้อกำหนดวินัย และการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. เข้าถึงได้จาก http://www.reo8.moe.go.th/W p-content/uploads/2022/02/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564-2570. เข้าถึงได้จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1903-file.pdf
อนุศรา อุดทะ และจิติมา วรรณศร. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(4), 305-316.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2562). คิดอย่างมิเชลฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศยาม.
Dorice, N. N., Hesborn, M. C. & Benard, K. Y. (2016). Teachers’ Disciplining Styles Influence on Pupils’ Behaviour Modification in Primary Schools in Kimilili Sub-country, Kenya. Retrieved from http://www. file:///C:/Users/fsocwrd/Downloads/MY3RDJOURNAL.pdf
Foucault, M. (1972). The Archaeology of Knowledge and the Discourse on Language. New York : Vintage Books.
Foucault, M. (1977). Discipline and Punish, The Birth of the Prison. Translated by Alan Sheridan. New York : Vintage Book.
Foucault, M. (1980). Power/Knowledge: Selected Interviews and Other Writings 1972-1977. New York : Vintage Books.
Perryman, J. (2006). Panoptic performativity and school inspection regimes: disciplinary mechanisms and life under special measures. Journal of Education Policy, 21(2), 147-161. doi.org/10.1080/02680930500500138