ประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

กิตติ ตระกูลรัมย์
สมปอง สุวรรณภูมา
ณัฐดนัย แก้วโพนงาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ และ 3) หาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 315 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการ โดยรวมพบว่า มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผู้สูงอายุความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นอันดับแรก โดยมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล และด้านนันทนาการ โดยมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ในเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความเห็นต่อประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งเนื่องจากความต้องการของผู้สูงอายุมีความต้องการที่แตกต่างกัน ทั้งความต้องการพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคม และ 3) แนวทางการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ควรมีแผนงานด้านผู้สูงอายุที่ชัดเจน ภายใต้กรอบกฎหมาย โดยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วม รวมถึงสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชนและผู้สูงอายุ จัดบริการสถานที่สำหรับพักผ่อน ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

Article Details

How to Cite
ตระกูลรัมย์ ก. ., สุวรรณภูมา ส. ., & แก้วโพนงาม ณ. (2024). ประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 251–266. https://doi.org/10.14456/jra.2024.46
บท
บทความวิจัย

References

จินต์จุฑา จันทร์ประสิทธิ์. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรทางการศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

นฤมล ถาวร. (2561). การบริหารจัดการด้านการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารสาธารณะ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พลภัทร อู่ไทย. (2559). การบริการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุในเรื่องเบี้ยยังชีพขององค์การบริหาร ส่วนตำบลโพธิ์ทอง อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). คณะสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ระพีพรรณ คำหอม. (2562). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย Social Welfare in Thai Society. เข้าถึงได้จาก http://www.baanjomyut.com

สุภาพร จิตรสูงเนิน. (2564). ความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการให้บริการด้านสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทัพเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง. (2565). ข้อมูลประชากร. ชัยภูมิ : องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.