การพัฒนาเครื่องมือการวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 จำนวน 150 คน จาก 31 โรงเรียน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกร มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 30 ข้อ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัด ได้แก่ ความตรงเชิงเนื้อหา อำนาจจำแนก ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และความเที่ยง ผลการวิจัย พบว่า 1) เครื่องมือการวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการเล่นเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 5 ข้อ (2) ด้านการมีแรงบันดาลใจ จำนวน 5 ข้อ (3) ด้านการสังเกตสามารถมองเห็นปัญหา จำนวน 4 ข้อ (4) ด้านการแสวงหาความรู้ จำนวน 5 ข้อ (5) ด้านคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จำนวน 5 ข้อ (6) ด้านความมุ่งมั่นและปฏิบัติงานต่อเนื่อง จำนวน 5 ข้อ (7) ด้านความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น จำนวน 3 ข้อ และ 2) เครื่องมือการวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกรมีความตรงเชิงเนื้อหาจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ (IOC = 0.67 - 1.00) มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.24 - 0.77 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 มีความตรงเชิงโครงสร้างจากการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 (224, N = 150) = 259.516, p = .052, CFI = .972, TLI = .965, RMSEA = .040, SRMR = .073) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบมีค่า 0.351 ถึง 0.999 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัว ยกเว้น ข้อ 6 ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่า เครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกรมีความตรงเชิงโครงสร้าง และสัดส่วนความแปรปรวนที่อธิบายได้ด้วยองค์ประกอบแต่ละตัวร้อยละ 12.50 ถึง 99.80
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
ณัฐกานต์ ประจันบาน และปกรณ์ ประจันบาน. (2564). การพัฒนาแบบวัดและเกณฑ์การประเมินกระบวนการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์กลุ่มแฝง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(3), 411-424.
พัชรินทร์ โคตรสมบัติ. (2558). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สิทธิชัย ลายเสมา. (2557). การจัดการความรู้ การพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์. เข้าถึงได้จาก http://sites.google.com/site/edtechsukm/ kar-cadkar-reiyn-kar-sxn-cheing-srangsrrkh
Chimthongdee, W. (2014). A causal model of teacher’s innovative ability with creative thinking as the mediator. Bangkok : Chulalongkorn University.
De Bes, F. T. & Kotler, P. (2011). Winning at innovation: The A-to-F model. Basingstoke : Palgrave Macmillan.
Halawah, I. (2011). Student's motivation to learn from students' perspective. Education, 132(2), 379-390.
Soper, D.S. (2023). A-priori Sample Size Calculator for Structural Equation Models [Software]. Retrieved from http://www.danielsoper.com/statcalc/