การพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการของชุมชนไทยพวน ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2) พัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้ช่องทางประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการของชุมชนไทยพวน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ประกอบด้วย แบบสังเกตการณ์ภาคสนาม แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบสนทนากลุ่ม แบบประเมินคุณภาพช่องทางการประชาสัมพันธ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ขั้นก่อนการผลิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาจาก (1) การศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) การสังเกต (3) การสัมภาษณ์ และ (4) การสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 ขั้นหลังการผลิต ใช้การวิเคราะห์แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาช่องทางประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนมีความต้องการสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบของเว็บไซต์ที่สามารถให้ข้อมูลและรายละเอียดชุมชนได้อย่างครบถ้วน สามารถใช้รวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ของชุมชนไทยพวนบ้านหินปักให้เป็นที่รู้จัก รูปแบบของเว็บไซต์ มีภาพ สื่อมัลติมีเดีย ประกอบข้อความ แสดงข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ประวัติชุมชน วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี อาหารการกิน ความเชื่อ ประเพณี ภูมิปัญญา และเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับผ้ามัดหมี่ของชุมชน 2) ผลการพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็นเว็บไซต์ที่ได้ออกแบบและนำเนื้อหา ภาพเคลื่อนไหว รูปภาพที่เตรียมไว้มาจัดว่าง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้ง่าย รายละเอียดชัดเจน และได้มีการแบ่งหน้าเว็บไซต์ออกเป็น หน้าแรก และหน้าเว็บเพจ ประกอบด้วยประวัติศาสตร์ของชุมชน วิถีวัฒนธรรม สถานที่สำคัญ และภูมิปัญญาการทอผ้าของชาวหินปัก และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจ ผู้ใช้มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = 0.59)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2559). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นวรัตน์ วัฒนา และคณะ. (2560). การพัฒนาเว็บไซต์ต้นแบบแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านในจังหวัดนราธิวาส. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม, 4(1), 35-50.
บุญยสถษฏ์ อเนกสุข. (2564). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “ยล เยี่ยม เยือน เหย้า : แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2563). ศาสตร์การวิจัย. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุมนา บุษบก, ปวันนพัสตร์ ศรีทรงเมือง, อาณัติ รัตนถิรกุล และวรรษา พรหมศิลป์. (2562). การพัฒนาเว็บไซต์และสื่อมัลติมีเดียเพื่อเผยแพร่ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (รายงานการวิจัย). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2558). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : โคคูน แอนด์ โค.
Harold, G. & Rosa, S. (2009). Community-based tourism: a success?. Germany : The German Development Agency.
UNESCO. (2006). Education for all – Literacy for life EFA Global Monitoring Report 2006. [PDF doucment]. Retrieved from http://www.uis.unesco.org/Library/ Documents/gmr06-en.pdf.