รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพสมรรถนะ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามหลักพรหมวิหาร 4 และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นวิจัยแบบผสานวิธี โดยแจกแบบสอบถามกับผู้บริหารและบุคลากรโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบล จำนวน 254 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครซี่และมอร์แกน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน และการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 22 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมิน 4 ด้าน ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และด้านความเป็นประโยชน์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพสมรรถนะของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากน้อยไปหามาก ดังนี้ ด้านการสื่อสารจูง ( = 3.73) ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ( =3.82) ด้านภาวะผู้นำ ( =3.83) ด้านใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ ( =3.86) ด้านการคิดในเชิงวิเคราะห์ ( =3.87) ด้านการประสานงาน ( =3.90) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ( = 3.95) ด้านการทำงานเป็นทีม ( = 3.98) ด้านการบริการที่ดี ( =4.06) ด้านทำงานชุมชนเชิงรุก ( = 4.08) 2) ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผลการวิจัยพบว่า ตามหลักเมตตา หลักกรุณา หลักมุทิตา หลักอุเบกขา มีอย่างละ 1 รูปแบบ และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผลการวิจัยพบว่า ความถูกต้อง ( =5.00) ระดับดีมาก ความเหมาะสม ( =5.00) ระดับดีมาก ความเป็นได้ในการปฏิบัติ ( =5.00) ระดับดีมาก และความเป็นประโยชน์ ( =5.00) ระดับดีมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2553). รายงานการประเมินผลนโยบายการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในระยะนำร่องของปีงบประมาณ 2552. นนทบุรี : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ฐิติวรดา อัครภานุวัฒน์ และคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2 (น. 1-11). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
พระมหาชัยวัฒน์ จตฺตมโล (พรหมสนธิ). (2560). กระบวนการและหลักการบริหารงานบุคคลที่เหมาะสมตามหลักพรหมวิหารสี่. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์, 1(1), 76-90.
ลัดดาวัลย์ สีทอง. (2563). สมรรถนะทางการบริหารของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์. (2560). สถานการณ์และปัญหาการบริหารงานด้านสาธารณสุขของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการสาธารณสุข). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมเด็จพระญาณสังวร. (2556). หลักพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. (2563). สรุปผลการปฏิบัติงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ 2563. (อัดสำเนา).
สุนิสา ธิปัตย์ และคณะ. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของกรมแพทย์ทหารบก. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 11(2), 103-118.
อานนท์ เมธีวรฉัตร. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารของวิทยาลัยสงฆ์ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2), 77-94.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.