มโนทัศน์แห่งการพัฒนาและทางเลือกของการพัฒนาที่ยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์แห่งการพัฒนาและทางเลือกของการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 17-18 ถือเป็นจุดเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลก และส่งผลกระทบในเกือบทุกมิติทุกแง่มุมของการใช้ชีวิตประจำวันของคนในสังคมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และมโนทัศน์แห่งการพัฒนา ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 19 เพื่อใช้เรียกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงจากการทำเกษตรกรรมไปสู่การประกอบอาชีพทางด้านอุตสาหกรรม วิถีการผลิตเปลี่ยนจากเพื่อการยังชีพเป็นวิถีการผลิตเพื่อการค้า เกิดการขยายตัวเป็นเมือง เปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจแบบพึ่งพาแรงงานคนและสัตว์เป็นหลักไปเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเครื่องจักรเป็นหลัก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ การที่รายได้และจำนวนประชากรโลกโดยเฉลี่ยเริ่มที่จะขยายตัวอย่างรวดเร็วในแบบที่ไม่มีปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อน โดยในบทความวิชาการนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอ 1) มโนทัศน์การพัฒนา 2) การพัฒนาทางเลือกและ 3) การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งองค์ความรู้จากบทความนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการทางความคิดการวางแผนเพื่อการพัฒนา การสะท้อนทัศนคติในแง่มุมของการพัฒนาในหลากหลายมิติ และสามารถนำแนวทางการพัฒนาปรับใช้ในกระบวนการ พัฒนาสังคม รวมถึงกระบวนทัศน์องค์แห่งความรู้ด้านการพัฒนาอีกด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อเพื่อชุมชน : การประมวลองค์ความรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.
กุลิสรา กฤตวรกาญจน์. (2551). การสื่อสารเพื่อการพัฒนากับการพัฒนาชนบทไทย. วารสารการสื่อสารมวลชน, 1(2), 44-68.
ประเวศ วะสี. (2548). การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2531). อารยธรรมไทย: ทางเลือกออกจากยุคพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เทียนวรรณ.
พระธรรมปิฎก. (2542). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระมหาประกาศิต สิริเมโธ (ฐิติปสิทธิกร) และคณะ. (2561). ปราชญ์ป่า : กระบวนการสร้างจิตสำนึกร่วมในการจัดการป่าชุมชนต้นแบบ เขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 61-75.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2566). BCG เป็นมาอย่างไร. เข้าถึงได้จาก https://www.bcg.in.th/background/
Beck, Roger B. (1999). World History: Patterns of Interaction. Evanston, Illinois : McDougal Littell.
Escobar, A. (2011). Encountering Development Making and Unmaking of the Third World. Princeton : Princeton University Press.
Escobar, J. & Webel, D.M. (2000). Nutrition and Immunology of Swine. (2nd Edition). United States : CRC Press.
Panapanaan, M.V., et al. (2003). Roadmapping Corporate Social Responsibility in Finnish Companies. Journal of Business Ethics, 44, 133–148.
Pieterse, N. J. (2009). Development Theory. (2nd Edition). United States : Sage Publication.
Porter, M. E. & Kramer, M.R. (2006). Strategy and Society: The Link between Competitive Advantage and Corporate Social Responsibility. Harvard Business Review, 84(12), 78.
Potter, S.H., et al. (2018). The influence of impact-based severe weather warnings on risk perceptions and intended protective actions. International Journal of Disaster Risk Reduction, 30, 34-43.
Redford, A. (1976). Labour migration in England, 1800-1850. Manchester : Manchester University Press.
Siemiatycki, E. (2005). Post-devlopment at a Crossroads: Towards a 'Real' Development. Undercurrent, 2(3), 57-61.
Singhal, A. & Stapitanond, P. (1996). The role of communication in development: Lessons learned from a critique of the dominant, dependency, and alternative paradigms. The Journal of Development Communication, 7(1), 10-25.