คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาระดับต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่วนกลาง) กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปรีชา คุณฮวย
นันทิยา น้อยจันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพความคาดหวัง และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาระดับต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่วนกลาง) กรุงเทพมหานคร ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการพลเรือน จำนวน 304 คน คำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ระดับความสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาระดับต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพความคาดหวังคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาระดับต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาระดับต้น 3 ลำดับแรก คือ ด้านทักษะทางการบริหาร ด้านวิสัยทัศน์ และด้านประสบการณ์และผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาระดับต้น พบว่าด้านทักษะทางการบริหาร ควรจัดให้มีการพัฒนาก่อนการแต่งตั้งด้วยการพัฒนาหลากหลายรูปแบบตามบริบทเฉพาะ มีการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและประชุมหารืองานภายในเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ด้านวิสัยทัศน์ ควรพัฒนากลไกระบบการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล กำหนดแนวทางหรือวิธีการสร้างการมีส่วนร่วม มีการประเมินขีดความสามารถของตนเองและใต้บังคับบัญชา สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และด้านประสบการณ์และผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน ควรส่งเสริมการเป็นต้นแบบทางความคิด พฤติกรรมการทำงาน เปิดใจเรียนรู้งาน กำหนดให้มีตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานและเป้าหมาย สร้างการมีปฏิสัมพันธ์ในตำแหน่งระดับเดียวกันมากขึ้น สนับสนุนโอกาสการเข้าร่วมงานเผยแพร่ผลงานวิชาการ การติดต่อประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ

Article Details

How to Cite
คุณฮวย ป. ., & น้อยจันทร์ น. . (2024). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาระดับต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่วนกลาง) กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจยวิชาการ, 7(3), 133–150. https://doi.org/10.14456/jra.2024.65
บท
บทความวิจัย

References

กรัญญา สกุลรักษ์. (2561). ปัจจัยบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ปัจจัยด้านความสามารถ และปัจจัยด้านความสำเร็จ ที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กฤติยา มามีชัย. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (วิทยานิพน์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เกษม แก้วสนั่น. (2564). การจัดการองค์กรไปสู่ความสำเร็จ. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 6(4), 88-108.

ชนพณ สุขแจ่ม. (2565). แนวทางการสร้างความสามัคคีของบุคลากรในสถานศึกษาตามหลัการาณียธรรม 6ของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตอัจฉราลับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2) 157-168.

ชานนท์ วรรณา. (2563). แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 14(1), 45-56.

ฐิติพร หงษ์โต. (2560). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารสารสนเทศ, 16(1), 239-251.

ณัชทรากานต์ แสนอุบล. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารไทยเครดิตรายย่อย จำกัด (มหาชน). วารสารรัชต์ภาคย์, 15(43), 293-303.

นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2561). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 117-125.

ประสิทธิ์ ใจกล้า. (2564). ภาวะของผู้นำยุคใหม่กับทักษะในการบริหารงานในองค์กร. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 8(1), 94-98.

วิชาญ ภิบาล. (2564). ระบบบริหารและการจัดการของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทาง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 1-19.

ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 14(1), 139-152.

สำนักงาน ก.พ. (2563). คู่มือแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563-2564. เข้าถึงได้จาก https://www.ocsc.go.th/civilservice#gsc.tab=0

สำนักงาน ก.พ. (2564). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ. เข้าถึงได้จาก https:// www.ocsc.go.th/หนังสือเวียน/ว25-2564-หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ#gsc.tab=0

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). รับสมัครข้าราชการเข้ารับการประเมินบุคคลเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ที่ว่างในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่วนกลาง). (อัดสำเนา)

สุภาวดี พรหมทะสาร. (2561). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ตามทัศนะของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรัชภัฏมหาสารคาม.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเวศ กลับศรี. (2557). ภาวะผู้นำที่ควรพัฒนาในเยาวชน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(2), 132-140.

เสกสรรค์ สนวา. (2561). คุณลักษณะของผู้นำองค์การภาครัฐสมัยใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(2), 399-411.

Phra Mihn Siripanno. (2020). study the current state of decision-making of primary school administrators in the Socialist Republic of Vietnam.Journal of Bovorn Multi-Education and Human Social Sciences, 1(2), 1-11.

Ouchi, W. G. (1981). Theory Z : How American Business Can Meet the Japanese Challenge. New York : Avon Books.