พุทธวิถีสู่การจัดการตนเองอย่างยั่งยืนของเครือข่ายชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของความเป็นชุมชนเชิงพุทธวิถีในพื้นที่ชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) วิเคราะห์ความเป็นชุมชนนวัตกรรมพุทธวิถีสู่การจัดการตนเองอย่างยั่งยืนของเครือข่ายชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในชุมชนเมืองในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จำนวน 250 คน 5 ชุมชน คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า มีค่า IOC = 0.93 และแบบเก็บข้อมูลถอดบทเรียน มีค่า IOC = 0.92 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุมชนกลุ่มตัวอย่างทั้ง 5 ชุมชน มีบริบทที่ใกล้เคียงกัน เป็นชุมชนเมือง มีแบ่งข้อมูลเป็น 6 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า มีระบบไฟฟ้าและน้ำประปา อยู่ในระดับดี ด้านเศรษฐกิจ มีอาชีพที่มีความมั่นคง มีสวัสดิการ อยู่ในระดับปานกลาง มีรายได้เพียงพอเลี้ยงครอบครัว อยู่ในระดับมาก ด้านสุขภาพ มีกลุ่ม อสม.ที่ให้ความช่วยเหลืออยู่ในระดับมาก ด้านการศึกษา มีการศึกษาและความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ด้านสังคม มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในชุมชนอยู่ในระดับมาก ด้านสิ่งแวดล้อม มีคนในชุมชนอุปนิสัยดี มีอากาศบริสุทธิ์ อยู่ในระดับมาก และ 2) ชุมชนกลุ่มตัวอย่างทั้ง 5 ชุมชน มีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีความเป็นบวร (บ้าน วัด และโรงเรียน) มีความเป็นชุมชนนวัตกรรมพุทธวิถีสู่การจัดการตนเองอย่างยั่งยืนของเครือข่ายชุมชนเมือง คือ มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาชุมชนจะร่วมมือร่วมใจกันเป็นอย่างดี และมีการประชุม การทำกิจกรรมร่วมกัน การแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งทั้ง 3 นี้เป็นเสาหลักในการจัดการทุก ๆ อย่างในชุมชน โดยใช้ระบบการสื่อสารที่ทันสมัยในยุคดิจิทัล เป็นการสร้างเครือข่ายการสื่อสารซึ่งกันและกันในชุมชน และกับชุมชนอื่น ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ชลวิทย์ เจียรจิตต์ และคณะ. (2565). นวัตกรรมทางสังคมกับแนวทางการพัฒนาเครือข่ายสัมมาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 1-14.
เทศบาลนครนครสวรรค์. (2565). ข้อมูลพื้นฐาน เทศบาลนครนครสวรรค์. เข้าถึงได้จาก http://www.nsm.go.th/information.php.
นฤมล เนตรวิเชียร. (2560). การพัฒนารูปแบบการให้บริการวิชาการผ่านระบบสารสนเทศออนไลน์. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญโชค บุญมี และธนัสถา โรจนตระกูล.(2564). การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านกล้วย อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(3), 133-141.
พิสมัย ประชานันท์ และบัณฑิต ผังนิรันดร์. (2561). รูปแบบนวตักรรมการจัดการเครือข่ายเพื่อการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคตะวันออกเฉียง เหนือ. รมยสาร, 16(1), 9-24.
เพิ่มศักดิ์ เพิ่มประยูร และนพดล เจนอักษร. (2562). การจัดการศึกษาที่พึงประสงค์ของชุมชนเมือง. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 887-897.
ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด. (2560). แนวทางการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (การประหยัดมัธยัสถ์พอกินพอใช้) ของประชาชนอาเซียน กรณีศึกษานครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(3), 62-85.
มัชชุพร วงศาเคน และธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2558). ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวหน้าผสมสารสกัดจากใบชาเมี่ยงในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2565). 16 ปี…คนจนเมืองนครสวรรค์รวมพลังสร้างบ้านมั่นคง. เข้าถึงได้จาก https://web.codi.or.th/20220129-30670/.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.). (2566). แผนงานสำคัญ (Flagship) ปีงบประมาณ 2563. เข้าถึงได้จากhttps://nriis.go.th/FileUpload/ AttatchFile/News/256212011610171527971.pdf
สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ ฉบับทบทวน (พ.ศ.2561-2565). (อัดสำเนา)