แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมบริหารภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ไมซ์ (MICE) เพื่อชุมชนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

จารึก ดาดี
อภิชาติ พานสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมบริหารภาคีเครือข่าย 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมบริหารภาคีเครือข่าย และ 3) นำเสนอแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมบริหารภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ไมซ์ (MICE) เพื่อชุมชนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขั้นตอนการวิจัย ประกอบด้วย 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมบริหารภาคีเครือข่าย กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกชุมชน 7 ชุมชน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 159 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว และการทดสอบแอลเอสดี และ 2) นำเสนอแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมบริหารภาคีเครือข่าย ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้นำชุมชน สมาคม ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และผู้ทรงคุณวุฒิ หรือนักวิชาการ จำนวน 15 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ไมซ์ (MICE) เพื่อชุมชนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมบริหารภาคีเครือข่าย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ด้านกลุ่มชุมชน เพศ และอาชีพ มีส่วนร่วมบริหารภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ไมซ์ (MICE) เพื่อชุมชนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แตกต่างกัน และ 3) นำเสนอแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ไมซ์ (MICE) เพื่อชุมชนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ควรส่งเสริมการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ของชุมชนท้องถิ่น ควรพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสร้างแรงจูงใจ ควรส่งเสริมกิจกรรม/โครงการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ควรนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการขายและประชาสัมพันธ์ และควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงชุมชน

Article Details

How to Cite
ดาดี จ. ., & พานสุวรรณ อ. . (2024). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมบริหารภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ไมซ์ (MICE) เพื่อชุมชนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจยวิชาการ, 7(3), 205–222. https://doi.org/10.14456/jra.2024.70
บท
บทความวิจัย

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). ด้วยประวัติศาสตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (อัดสำเนา)

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2558). ภาวะผู้นำใหม่ : ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์. เข้าถึงได้จาก https://www.academia.edu

ขวัญนภา สุขคร และคณะ. (2560). การพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ : ตามแนวคิดลำปางเมืองไม่หมุนตามกาลเวลา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 13(2), 1-26.

จงดี โพธิ์สลัด. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการหมู่บ้านเศรฐกิจพอเพียงต้นแบบ ของอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

จินตรวีร์ เกษมศุข. (2561). แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. เข้าถึงได้จาก https://tci-thaijo.org/index.php/husojournal/article/view/11618

ชวลิต เกตุมงคลสิทธิ์. (2562). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการดูแลสิ่งแวดล้อมของชุมชนเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนิศร ยืนยง. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดนครนายก. มหาวิทยาลัยปทุมธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 119-135.

นัชชา ทิพเนตร. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนและรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(8), 395-413.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2557). ธุรกิจไมซ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ปริญญา บุตรอยู่. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตตเทศบาลเมือประจวบคีรีขันธ์ต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปริวรรต สมนึก และคณะ. (2559). การสร้างรูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในเส้นทางการท่องเที่ยวตามริมน้ำโขงของจังหวัดอุบลราชธานี. (รายงานการวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

เปรม ถาวรประภาสวัสดิ์. (2562). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมพ.ศ.2559 : การรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร.

แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570). (2566, มีนาคม 24). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 140 ตอนที่ 70 ง, หน้า 39-146.

เพทาย ธาราศักดิ์. (2559). ศักยภาพของชุมชนในการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยว). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ภัสรพรรณ แสนหล้า, สุรศักดิ์ จันพลา และสุนทร สายคำ (2565) การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : วิทยาเขตขอนแก่น.

มิ่งกมล รอดวัตร์. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). คณะรัฐประศาสนศาสตร์และสังคม : มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

วิยะดา เสรีวิชัยสวัสดิ์. (2555). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยให้เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์). บัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ศราวุฒิ ดาวกรงแก้ว. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชน: กรณีศึกษาเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(37), 80-93.

ศศิชา หมดมลทิล. (2561). การดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : กรมที่ดิน.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานสถิติอุตสาหกรรมไมซ์ ปีงบประมาณ 2561. ใน โครงการสำรวจสถิติการจัดประชุมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2558). องค์ความรู้ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: คู่มือและแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York : Harper and Row Publications.