แนวทางการส่งเสริมโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

Main Article Content

บัวบูชา ยิ่งมี
วัลลภา เฉลิมวงศาเวช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น และ 2) เสนอแนวทางการส่งเสริมโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 260 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 ส่วนผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็นของการดำเนินโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษาที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านผู้เรียนเป็นสุขและด้านครอบครัวเป็นสุข รองลงมา คือ ด้านชุมชนเป็นสุข ด้านโรงเรียนเป็นสุขและด้านสภาพแวดล้อมเป็นสุข ตามลำดับ และ 2) แนวทางการส่งเสริมโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 54 แนวทาง ดังนี้ ด้านผู้เรียนเป็นสุข มี 12 แนวทาง ด้านครอบครัวเป็นสุข 11 แนวทาง ด้านชุมชนเป็นสุขมี 10 แนวทาง ด้านโรงเรียน เป็นสุขมี 11 แนวทาง และด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสุข 10 แนวทาง

Article Details

How to Cite
ยิ่งมี บ. ., & เฉลิมวงศาเวช ว. . (2024). แนวทางการส่งเสริมโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วารสารวิจยวิชาการ, 7(3), 319–334. https://doi.org/10.14456/jra.2024.77
บท
บทความวิจัย

References

เครือข่ายโรงเรียนสุขภาวะ ภาคอีสานตอนล่าง. (2561). คู่มือโรงเรียนเฮ็ดดีมีสุข โครงการเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนสุขภาวะ ภาคอีสานตอนล่าง. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ดวงดาว แช่มชื่น. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดวงเนตร ธรรมกุล และอังคนันท์ เทพอำนวย (2563). การประเมินโรงเรียนสุขภาวะของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(3), 119-130.

ประวิต เอราวรรณ์ และวราพร เอราวรรณ์. (2560). รายการการประเมินผลโครงการเสริมสร้างพลังอำนาจการจัดการศึกษาที่สร้างสุขภาวะในโรงเรียน. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยสารคาม, 23(2), 104-113.

มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา. (2556). การบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา. (2561). เครื่องมือพัฒนาสู่ความเป็นโรงเรียนสุขภาวะ. มหาสารคาม : บริษัทสารคามการพิมพ์ จำกัด.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). โรงเรียนสุขภาวะ การศึกษาแบบนวัตกรรมยุคใหม่ (Healthy School). เข้าถึงได้จาก https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/591e0f31-e19d-e711-80e3-00155d65ec2e

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (2565). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา. ปทุมธานี : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุพจนีย พัดจาด. (2562). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดตาก. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 2(1), 67-89.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจําเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.