การพัฒนาตัวบ่งชี้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 และการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อการป้องกันหลังการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ในตลาดสด เขตเทศบาลนครนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ในตลาดสด เขตเทศบาลนครนครสวรรค์ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตัวบ่งชี้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ในตลาดสด ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ในตลาดสด เขตเทศบาลนครนครสวรรค์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนผู้ใช้บริการตลาดสดในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จำนวน 385 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการศึกษา พบว่า 1) การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ในตลาดสด ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ตัวบ่งชี้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ในตลาดสด ซึ่งประกอบด้วย ด้านการคัดกรอง ด้านการกำหนดทางเข้า-ออก ด้านการสวมหน้ากากอนามัย ด้านการบริการเจลแอลกอฮอล์/จุดล้างมือ ด้านการทำความสะอาดบริเวณพื้นตลาด ด้านการเว้นระยะห่าง ด้านสภาพแวดล้อมในตลาด และด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่าสัดส่วน Chi-square/df = 1.28 ซึ่งไม่เกิน 2 และ Chi-square ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.1871) RMSEA = 0.050 ซึ่งเกณฑ์กำหนดไว้น้อยกว่า 0.100 และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ > 0.60 ทุกตัวแปร และ 3) การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ในตลาดสด ประกอบด้วย (1) การมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการ และแผนป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ร่วมกับผู้แทนผู้ประกอบการร้านค้า (2) การสื่อสาร และจัดกิจกรรมการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 (3) การสุ่มตรวจ ATK ผู้ประกอบการร้านค้าในตลาด และ (4) การประชาสัมพันธ์ความสำเร็จของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมอนามัย. (2563). แนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). เข้าถึงได้จาก https://covid19.anamai.moph.go.th/web-upload/2xdccaaf3d7f6ae30ba6ae1459eaf3dd66/m_document/6736/35207/file_download/883c95eaf4d8a80c21a6516b26bf23b6.pdf
กฤษฎา ฉิมพลีวัฒน์. (2565). การจัดการการสื่อสารเชิงประยุกต์ของภาครัฐ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนเกี่ยวกับมาตรการและการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(2), 355-368.
ณรงค์ ใจเที่ยง. (2564). มาตรการป้องกันโควิด 19 ระบาดระลอกใหม่. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 7(3), 541-553.
ธนพัชญ์ เผือกพิพัฒน์. (2564). การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามมาตรการของรัฐในสถานการณ์โควิด–19 กรณีศึกษา: แขวงคลองจั่น เขตบางกระปิ กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(2), 1-14.
พระปลัดสุรศักดิ์ ปราโมทย์วรพันธุ์, ฉัชศุภางค์ สารมาศ, พระมงคลธรรมวิธาน, สุทน ทองเล็ก และวิญญู กินะเสน. (2565). มาตรการป้องกันไวรัสโคโรน่า-โควิด 19 ตามหลักพุทธธรรม. วารสารสิริรธรปริทรรศน์, 23(2), 54-64.
ยุพเรศ พญาพรหม, หัสญา ตันติพงศ์, พรพรรณ มนสัจจกุล และศรินญาภรณ์ จันทร์แก้วสกุล. (2565). การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของประชาชนในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 23(44), 67-71.
รัฐกูล เสนารา, ชาญชัย ฮวดศรี และ ปรัชญา มีโนนทองมหาศาล. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(9), 239-251.
สมาน ฟูตระกูล, บุญทนากร พรมภักดี, สุภาพร ทุยบึงฉิม, สุพัตรา สิมมาทัน, คณยศ ชัยอาจ และ นิชนันท์ โยธา. (2565). การประเมิณพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบครอบจักรวาล และการนับวัคซีน COVID-19 ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการ สคร.9, 28(2), 5-14.
สืบพงษ์ สมิตทันต์ และสันติธร ริภักดี. (2564). มาตรการการจัดงานแสดงสินค้าหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อความมั่นใจในการเดินทางเข้าชมงานของผู้เข้าชมงานแสดงสินค้า. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 13(1), 111-129.
สำนักงานสถิติจังหวัดนครสวรรค์. (2564). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ.2564. เข้าถึงได้จาก https://province.nso.go.th/ nksawan/reports-publications/ebook.html?view=book&id=4:2022-11-21-07-49-37&catid=4:office-works
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.