การพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วิชุลดา มาตันบุญ
เสถียร ฉันทะ
บานจิตร สายรอคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในจังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยและพัฒนาในพื้นที่ชุมชนลาหู่ บ้านลอจอและบ้านบริวาร ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สำรวจ จังหวัดเชียงราย ชุมชนไทยวน ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และชุมชนขมุ บ้านวังผา ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับแกนนำเด็กและเยาวชน จำนวน 20 คน แกนนำชุมชน จำนวน 19 คน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ทำงานเกี่ยวข้อง จำนวน 9 คน การจัดทำกลุ่มสนทนากับเด็กเยาวชนและแกนนำชุมชน จำนวน 3 กลุ่ม (22 คน) และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับเด็กและเยาวชน จำนวน 250 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ได้เกิดนวัตกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็กเยาวชนและแกนนำชุมชน ที่มีความแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพและวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชน โดยผ่านกระบวนการทดลองใช้และมีการพัฒนาจนนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ และได้เผยแพร่สู่สาธารณะ จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ 1) นวัตกรรมคู่มือเรื่องเล่าจากประสบการณ์การไปทำงานต่างประเทศบ้านลอจอ ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย 2) นวัตกรรมพลังเด็กและเยาวชนตำบลสถาน อำเภอเชียงของ และ 3) นวัตกรรมกระบวนการจัดการขยะชุมชน บ้านวังผา ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ ระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ. (2560). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ : บริษัท หัวใหญ่ จำกัด.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). ยุทธศาสตร์กระทรวง พ.ศ. 2560-2564 และยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวง พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงได้จาก https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web//mobile_list.php?cid=428

เก ประเสริฐสังข์, ดุษฎี โยเหลา และสมไทย วงษ์เจริญ. (2561). การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์เพื่อสร้างรูปแบบและกลไกจัดการขยะอย่างครบวงจรบนฐานการมีส่วนร่วมของโรงเรียนและชุมชน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 24(2), 65-83.

ชานนท์ โกมลมาลย์. (2561). นวัตกรรมทางสังคมเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะโดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 26(1), 120-145.

ณัฐชานันท์ โชตินิรันตนากูล และฉัตรวรัญช์ องคสิงห์. (2563). นวัตกรรมทางสังคมการเรียนรู้สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษา สาขาธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(2), 150-163.

นภวรรณ รัตสุข. (2559). การจัดการขยะแบบบูรณาการในชุมชน. Veridian E-Journal,Science and Technology Silpakorn University, 3(5), 260-273.

พระครูใบฎีกาสมชาย และคณะ. (2564). แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์, 11(2), 80-96.

พระเทพสุรีย์ จันขาว และปิยะพงษ์ จันทร์ใหม่มูล. (2563). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง “การจัดการขยะมูลฝอย” เพื่อส่งเสริมความรู้ จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย : กรณีศึกษานักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดแจงร้อน เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 2(1), 1-18.

พัสรินณ์พันธุ์แน่น (2558) การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการจัดการขยะ : บ้านมั่นคงชุมชนบางบัว เขต. บางเขน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(2), 50-73.

ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์. (2557). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 173-178.

วิชุลดา มาตันบุญ. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ได้มาตรฐานบนฐานอัตลักษณ์ล้านนาเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชน. เชียงใหม่ : บริษัท นันทพันธ์พริ้นติ้ง จำกัด. เชียงใหม่.

วิชุลดา มาตันบุญ. (2565). พฤติกรรมความรุนแรงในการใช้สื่อของเด็กเยาวชนในจังหวัดเชียงราย. วารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. 1(3), 1-31.

วิไลลักษณ์ พรมเสน และคณะ. (2564). การบริหารจัดการขยะโดยกระบวนนการมีส่วนร่วมของประชาชยในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลป่าตันนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(2), 104-114.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง. (2563). คำจำกัดความของพื้นที่สูง. เข้าถึงได้จาก https://www.hrdi.or.th/About/Highland

สมพงษ์ จิตระดับ และพจนา อาภานุรักษ์. (2564). แนวทางการพัฒนาคุณภาพเยาวชนพลเมือง : การเปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตของประเทศไทยสาธารณรัฐเอสโตเนีย และสิงคโปร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 16(3), 406-414.

องค์กรยูนิเซฟ. (2560). สถานการณ์เด็กและเยาวชนในประเทศไทย. เข้าถึงได้จากhttps://www.unicef.org/thailand/tha/unicef-organization-profile-final-thai.pdf

อุลิชษา ครุฑะเสน. (2556). แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน. วารสารวิชาการ Verdialn E-Journal, 6(3), 276-285.