การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2

Main Article Content

ณัฐกาญจน์ ญาณแขก
ธดา สิทธิ์ธาดา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) เปรียบเทียบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกตามตำแหน่งและประสบการณ์ และ 3) เสนอแนวทาง การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษา จำนวน 66 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 198 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากและมากที่สุด 2) เปรียบเทียบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มี 6 แนวทาง ได้แก่ 1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรสร้างความตระหนัก และความเข้าใจในการปฏิบัติงานให้มีทิศทางเดียวกัน 2) ด้านการคัดกรองนักเรียน ควรร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาของนักเรียนและหาแนวทางในการป้องกันเด็กกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา 3) ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ส่งเสริมให้สถานศึกษานำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง 4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน จัดทำแผนเผชิญเหตุป้องกันทั้งนักเรียนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา 5) ด้านการส่งต่อนักเรียน ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการส่งต่อนักเรียนเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป และ 6) ด้านการติดต่อสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับภาคีเครือข่าย และร่วมกันพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรมาภรณ์ สนธิ. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก, หน้า 3-7.

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546. (2546, 2 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 120 ตอนที่ 95 ก, หน้า 9.

วิทยา ชุมหล่อ. (2560). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต12. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

วุฒิพงษ์ พันทิวา. (2563). สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2. (2565). รายงานผลการติดตามนักเรียนออกกลางคัน ปีการศึกษา 2565. (อัดสำเนา)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). คู่มือการคัดเลือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2565. กรุงเทพฯ : ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563-2565). เข้าถึงได้จาก https://www.moe.go.th/strategic-plan

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สุนิสา มาสุข. (2560). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดระยอง. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

University at Buffalo. (2014). School of Social Work. Developing Your Support System. Retrieved from https://socialwork.buffalo.edu/resources/self-care-starter-kit/additional-self-care-resources/developing-your-support-system.html.