แนวทางการแก้ไขการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกระทำผิดซ้ำ 2) พัฒนากระบวนการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ 3) เสนอแนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครปฐม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยศึกษาเอกสารและเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ต้องขังที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำกลางนครปฐม จำนวน 319 คน ทำการคัดเลือกโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ และทำการคัดเลือกแบบเจาะจงผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 16 คน ผู้ร่วมสนทนากลุ่มเฉพาะ 9 คน ใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหานำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครปฐม พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดซ้ำมากที่สุด คือด้านเศรษฐกิจ รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสังคมและปัจจัยด้านครอบครัว ตามลำดับ 2) การพัฒนากระบวนการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครปฐม พบว่า มีขั้นตอน 6 ขั้นตอน ดังนี้ 2.1) ค้นหาสาเหตุที่นำมาสู่การกระทำผิดซ้ำ 2.2) ศึกษาแนวคิดสำหรับป้องกัน 2.3) การพัฒนาคู่มือและออกแบบกิจกรรม 2.4) จัดวิพากษ์ความเหมาะสมของคู่มือและกิจกรรม 2.5) จัดกิจกรรมตามคู่มือ และ 2.6) ประเมินผลกิจกรรม และ 3) แนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครปฐม ประกอบด้วย 4 กระบวนการ ดังนี้ 3.1) กระบวนการให้ความรู้ 3.2) กระบวนการสร้างจิตสำนึกที่ดี โดยใช้หลักศีล 5 3.3) กระบวนการให้โอกาสได้แสดงออก และ 3.4) กระบวนการสร้างภาคีเครือข่ายในการร่วมกันแก้ไข ให้โอกาส และป้องกันการกระทำผิดซ้ำ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมราชทัณฑ์. (2565). สถิตินักโทษเด็ดขาดแยกตามอายุเรือนจำกลางนครปฐม. เข้าถึงได้จาก http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_index.php.
กระทรวงยุติธรรม. (2565). ยุทธศาสตร์กระทรวงยุติธรรม ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). เข้าถึงได้จาก https://www.moj.go.th/attachments/2017060914111603707.pdf
ชวลิต กลิ่นแข. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำของจังหวัดแม่ฮ่องสอน, วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 6(3), 253-261.
โชติกา แก่นธิยา. (2564). การแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำกลางนครสวรรค์ โดยบูรณาการตามหลักเบญจธรรม. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 215–224.
ประชา ประสงค์ธรรม. (2547). แนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังชายในเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (การค้นคว้าอิสระศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พระครูสิริธรรมานุยุต. (2562). การใช้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อลดปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย. วารสารเสลภูมิวิชาการ, 5(3), 55-56.
พระเทพศาสนาภิบาล. (2565). หมู่บ้านรักษาศีล 5 : แนวคิดและรูปแบบการขับเคลื่อนเพื่อเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของจังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 8(2), 32-44.
เรือนจำกลางนครปฐม. (2565). ข้อมูลอัตราการกระทำผิดซ้ำผู้ต้องขังเรือนจำกลางนครปฐม.เข้าถึงได้จาก http://www.correct.go.th/recstats/index.php/th/rearchAdvance.
ศิลป์ชัย ลีลิตธรรม และวงศกร เพิ่มผล. (2563). แนวทางป้องกันตามหลักเบญจศีล เพื่อส่งเสริมการไม่กระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสมุทรปราการ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สุมนทิพย์ จิตสว่าง และนัทธี จิตสว่าง. (2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำ. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 24(2), 78-100.
โสฬส สุวรรณโฉม. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดี ยาเสพติดในเรือนจำพิเศษพัทยา จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ : มหาวิทยาลัยบูรพา.