รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงอายุชายในเรือนจำกลางนครปฐม ตามหลักภาวนา 4

Main Article Content

เลอสรรค์ พิศวง
พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร
พระปลัดประพจน์ อยู่สำราญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิต 2) ศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักภาวนา 4 และ 3) เสนอรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังสูงอายุชายในเรือนจำกลางนครปฐม ตามหลักภาวนา 4 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 คน และสนทนากลุ่มเฉพาะ 10 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบเนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) เรือนจำกลางนครปฐมมีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังสูงอายุชาย ใน 3 ด้าน คือ ด้านสาธารณสุข ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ การตรวจสุขภาพร่างกายรักษาพยาบาลเบื้องต้นและเยียวยาตามความเหมาะสม ด้านการดำรงชีพ มีการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมตามบริบทของผู้ต้องขัง ด้านคุณค่าทางสังคม มีกิจกรรมสานสัมพันธ์ครอบครัว มีศูนย์เตรียมการปลดปล่อย การเรียนรู้หลักปฏิบัติทางศาสนา และการฝึกอาชีพ 2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังสูงอายุชายในเรือนจำกลางนครปฐม ตามหลักภาวนา 4 เป็นกิจกรรมเชิงบูรณาการกับกิจกรรมของเรือนจำ เช่น การปฐมนิเทศผู้ต้องขังเข้าใหม่เพื่อให้เรียนรู้ระบบระเบียบในการอยู่ร่วมกัน การจัดพื้นที่ออกกำลังกาย การจัดกิจกรรมราชทัณฑ์ปันสุข กิจกรรมส่งเสริมศีลธรรม ร่วมถึงกิจกรรมฝึกวิชาชีพ เช่น โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรตามรอยพ่อ โครงการโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง โครงการพัชรธรรม และ 3) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังสูงอายุชายในเรือนจำกลางนครปฐม ตามหลักภาวนา 4 ในด้านกายภาวนา มีการปฐมนิเทศให้ความรู้ในการดูแลตนเอง ด้านสีลภาวนา การส่งเสริมให้ปฏิบัติตามระเบียบ กิจกรรมจิตอาสา ด้านจิตภาวนา มีกิจกรรมปฏิบัติธรรมในโครงการพัชรธรรม โครงการเรือนจำวิถีพุทธ และการเรียนหลักสูตรสัคคสาสมาธิ ด้านปัญญาภาวนา มีการส่งเสริมอาชีพในโครงการเกษตรตามรอยพ่อ โครงการโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2564). สถิติราชทัณฑ์ รท.103. กรุงเทพฯ : กรมราชทัณฑ์.

ชลิดา บุญเดช. (2563). การประเมินประสิทธิผลของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ กรณีศึกษา เรือนจำกลางสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิศา ศิลารัตน์ และสัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ. (2555). การดำเนินชีวิตในสังคมของอดีตผู้ต้องขังคดียาเสพติด. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรังสิต.

พระมหาขันเงิน ขนฺติธโร. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักศีล 5 ของประชาชนตำบลโพนเมือง อำเภอสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเชาวฤทธิ์ นรินฺโท (ทรัพย์สวัสดิ์). (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 : กรณีศึกษาผู้สูงอายุบ้านห้วยหอย ตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิชญ์ อิสฺสรานนฺโท (ใจชื่น). (2561). กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา 4. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศราวุธ ปญฺญาวุโธ (คำมั่น). (2558). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในเขตเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิรญาณ์ โคตรชมภู. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเชิงพุทธบูรณาการ. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธสาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รณกรณ์ เอกฉันท์. (2558). การพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ต้องขังในเรือนจำไทย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันทนีย์ วัฒนะ และคณะ. (2560). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 (พ.ศ.2561-2564). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สรุปผลการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย. (อัดสำเนา)

สุมนทิพย์ จิตสว่าง และนัทธี จิตสว่าง. (2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำ. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 24(2), 78-100.

อาภากร งามปลอด. (2558). การปฏิบัติตามมาตรฐานด้านคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเรือนจำกลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.