แนวทางการพัฒนาครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู สำหรับวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู สำหรับวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้าราชการครูในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 81 คน ผู้ให้ข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และข้าราชการครู ที่มีประสบการณ์ในด้านการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู 1.1) การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน มีความต้องการจำเป็น ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 1.2) การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน มีความต้องการจำเป็น ด้านการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูมีการดำเนินการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย 1.3) ผลงานที่ใช้เสนอขอรับการประเมิน มีความต้องการจำเป็น ด้านการจัดการชั้นเรียน และการจัดทำวีดิทัศน์บันทึกการสอน 1.4) วิธีการพัฒนาครู มีความต้องการจำเป็นที่จะได้รับการพัฒนาโดยวิธีการฝึกอบรม 1.5) ปัจจัยส่งเสริมและสนับสนุน มีความต้องการจำเป็นในด้านอุปกรณ์อำนวยความสะดวก และ 2) แนวทางการพัฒนาครู พบว่า สถานศึกษาควรจัดสรรงบประมาณจัดซื้ออุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้แก่ครู และควรจัดทำโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาครูลงในแผนปฏิบัติการประจำปี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กณวรรธน์ ลาขุมเหล็ก. (2564). สภาพและแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
จินต์จุฑา จันทร์ประสิทธิ์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรทางการศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ทัศนีย์ สุขทวี และกัญญ์รัชการย์ นิลวรรณ. (2559). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามหลักการนารีรัตน์ บริหาร 4M โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(2), 238-244.
เทพพร โลมารักษ์ และบัญชา นวนสาย. (2562). กระบวนการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดจิตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยงและการวิจัยเป็นฐาน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(2), 57-73.
ฟาริดา เดชะกูล. (2565). การพัฒนากระบวนการบริหารการประเมินวิทยฐานะของครูโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
รัฐพงษ์ มั่นต่อ และหยกแก้ว กมลวรเดช. (2564). แนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 223-238.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สุทัศน์ ธิยานนท์ และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(ฉบับพิเศษ), 234-247.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อับบัส ยีรัน. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงสภาพระบบดั้งเดิมของสถาบันการศึกษาปอเนาะในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.