รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริม ทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา นอกเขตเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูปฐมวัย และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนประถมศึกษานอกเขตเมือง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตประถมศึกษานครสวรรค์นอกเขตเมือง 45 คน โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เกณฑ์การพิจารณาเลือกจากครูปฐมวัยที่มีประสบการณ์การสอนแบบสะเต็มศึกษา ไม่น้อยกว่า 5 ปี มีประสบการณ์ในการเข้าอบรมการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา กระบวนการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบ การออกแบบและพัฒนารูปแบบ และทดลองใช้และประเมินรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพและปัญหาของครูปฐมวัย แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ แบบทดสอบความรู้ความสามารถ แบบนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ด้วยกระบวนการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยงและการเสริมพลังการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจของครูปฐมวัย ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบ ประกอบด้วย ความเป็นมาของรูปแบบ แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ และการพัฒนาครูปฐมวัยโดยมีกระบวนการพัฒนา 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ขั้นที่ 2 นิเทศติดตามการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดในเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง และการเสริมพลังการเรียนรู้ และขั้นที่ 3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ผลการใช้รูปแบบ พบว่า ครูที่เข้าอบรมมีคะแนนหลังอบรมและหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กัญภร เอี่ยมพญา. (2565). โรงเรียนขนาดเล็ก : ปัญหาที่ต้องตัดสินใจ. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 315-329.
ฑิฆัมพร บุญมาก. (2558). การพัฒนาระบบพัฒนาครูในด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปรียาภรณ์ คงแก้ว. (2561). สภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา สำหรับเด็กวัยอนุบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(1), 291-300.
พัชรา พุ่มพชาติ. (2561). ความสามารถทางการคิดของครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ใน เอกสารการสอนชุดวิชา ประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 6. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัชพร เลี้ยงประเสริฐ. (2557). สร้างเมืองยุติธรรม ผ่านการจัดการศึกษา. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 12(1), 113-131.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). คู่มือสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2557). วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). แนวคิดเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0. เข้าถึงได้จาก http://planning2.
mju.ac.th/goverment/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf
อัครนัย ขวัญอยู่. (2558). แนวทางแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก. รายงานทีดีอาร์ไอ, 113, 3-16.
เอกลักษณ์ บุญท้าว, สมเจตน์ ภูศรี และศิริ ถีอาสนา. (2557). รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ของครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 8(4), 238-246.
Glatthorn, A. A. & Fox, L. E. (1996). Quality Teaching Through Professional Development. California : Corwin Press, Inc.
Kensington-Miller, B. (2012). Professional Development for Secondary school Mathematics Teachers: a peer mentoring model. International Journal of Mathematics Teaching and Learning, 12(5), 1-20.
Meadan, H., Ostrosky, M., Zaghlawan, H. & Yu, S. (2012). Using Coaching with Preschool Teachers to Support the Social Skills of Children with and Without Autism Spectrum Disorders. International Journal of Early Childhood Special Education. INT-JECSE, 4(2), 74-94.