อำนาจฝ่ายบริหารในการแทรกแซงทางเศรษฐกิจเอกชน : กรณีศึกษาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560

Main Article Content

เทวราช สนโศรก
พร้อมพล พระพรหม
เฉลียว นครจันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา ทฤษฎีเกี่ยวกับการแทรกแซงเศรษฐกิจ การกระทำทางรัฐบาล 2) ศึกษาอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และ 3) ศึกษาขอบเขต เงื่อนไขการแทรกแซงเศรษฐกิจของในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหนังสือ รายงาน วารสารของไทยและต่างประเทศ ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบในเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การแทรกแซงเศรษฐกิจของฝ่ายบริหารเป็นการกระทำทางรัฐบาลเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐทั้งในทฤษฎีกฎหมายมหาชนและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ โดยหลักเสรีนิยมรัฐจะไม่เข้าไปแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ ยกเว้นระบบกลไกตลาดไม่มีประสิทธิภาพนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมกัน 2) การแทรกแซงเศรษฐกิจตามนโยบายของฝ่ายบริหารเพื่อกระจายรายได้และความมั่งคั่งของสังคมและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยการแทรกแซงอยู่ในความควบคุมทางการเมืองโดยองค์กรและกระบวนการทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแข่งขันในตลาดได้ และ 3) ปัญหาการแทรกแซงเศรษฐกิจของฝ่ายบริหารตามรัฐธรรมนูญเกิดจากการตีความ การรักษาความมั่นคงของรัฐ ผลประโยชน์ของชาติ ผลประโยชน์ส่วนรวม ที่มีความหมายกว้างมีหลายมิติขึ้นกับอุดมการณ์ เวลา สภาพแวดล้อม ทำให้การกระทำทางรัฐบาลที่อาจไม่ถูกตรวจสอบการใช้อำนาจในทางกฎหมาย เป็นเพียงการตรวจสอบและความรับผิดทางการเมืองเท่านั้นทั้งที่ในรัฐธรรมนูญในมาตรา 5 บัญญัติชัดเจนว่าการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญไม่มีผลในการบังคับใช้ และการแทรกแซงเศรษฐกิจของฝ่ายบริหารเพื่อการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและการป้องกันการผูกขาดในด้านรูปแบบมากกว่าเนื้อหาการแทรกแซงเศรษฐกิจของฝ่ายบริหารจึงมิได้เป็นไปเพื่อการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและการป้องกันการผูกขาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2554). การกระทำทางรัฐบาล (Act of government). วารสารจุลนิติ, 8(2), 49-61.

ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์. (2525). ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการแทรกแซงของรัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช .

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2548). คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ .(2554). กฎ กติกาของภาครัฐกับประสิทธิภาพของตลาด. ใน โครงการการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย.

นลิตรา ไทยประเสริฐ. (2554). การผูกขาดและผลตอบแทนส่วนเกินทางเศรษฐกิจของไทย. ใน โครงการการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย.

นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ. (2554). โครงการการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

นิพนธ์ พัวพงศกร. (2554). การแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตรกับการกระจุกตัวของผลตอบแทนส่วนเกิน. ใน โครงการการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย.

สาโรช โชติพันธุ์. (2541). การควบคุมการกระทำของรัฐบาลโดยรัฐสภา. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562-2565). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2553). ถาม-ตอบ เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

สุรพล นิติไกรพจน์. (2536). ข้อความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ. วารสารนิติศาสตร์, 21(3), 371-385.

สุรพล นิติไกรพจน์. (2539). หลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจฝรั่งเศส ตอนที่ 2. วารสารนิติศาสตร์, 24(4), 812-822.

Bolewski, W. (2007). Diplomacy and International Law in Globalized Relations. Berlin : Springer Science & Business Media.