ปัญหาและอุปสรรคของการจัดสวัสดิการสังคมในองค์การบริหารส่วนตำบล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา ความมั่นคงของมนุษย์ สวัสดิการสังคม 2) ศึกษาอำนาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยตามกฎหมาย และ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาการจัดสวัสดิการสังคม โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยอาศัยการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1) ทฤษฎีพัฒนาสังคมและแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์มีเป้าหมาย คือ การตอบสนองความต้องการในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมให้มีความมั่นคงในชีวิตที่เป็นเจตนารมณ์ของสังคมโดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐ 2) รัฐธรรมนูญของไทยมีเจตนารมณ์ในการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์โดยกำหนดเป็นหน้าที่ของรัฐ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามหลักการกระจายอำนาจหน้าที่รัฐไปยังส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น และ 3) ปัญหาและอุปสรรคกรณีการจัดสวัสดิการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือราชการส่วนกลางที่ยังไม่กระจายอำนาจเต็มที่ไปยังส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนท้องถิ่นมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนที่เน้นหน้าที่หลักคือจัดทำบริการสาธารณะประเภทสาธารณูปโภค การกำหนดนโยบายมาจากผู้นำที่เป็นฝ่ายการเมือง ในภาคปฏิบัติอันเป็นอุปสรรคสำคัญ ของการแก้ไขปัญหาการจัดสวัสดิการสังคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยที่แม้จะมีการถ่วงดุลอำนาจก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติการพัฒนาท้องถิ่นตามแผนพัฒนาท้องถิ่นยังคงเป็นฝ่ายการเมืองที่กำหนดทิศทางอันเป็นอุปสรรคสำคัญของการแก้ไขปัญหาสวัสดิการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2548). ความมั่นคงของมนุษย์เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กระทรวงสาธารณสุข. (2556). สุขภาพคนไทย 2556. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2545). การสังคมสงเคราะห์ชุมชน : มรรควิธีสู่ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไททัศน์ มาลา. (2554). การปกครองท้องถิ่นไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 1(2), 43-53.
นงคราญ สุขเวชวรกิจ และดำเกิง อัศวสุนทรางกูร. (2564). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคม ของเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(1), 39-51.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2553). ก้าวต่อไปของการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 8(3), 5-16.
พระครูสมุห์วัลลภ ฐิตสํวโร และคณะ. (2562). สถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ในประเทศไทย. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 10(2), 517-527.
วีระยุทธ สายบุญ. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2522). ทฤษฎีการพัฒนาสังคม. วารสารสังคมศาสตร์, 3(3), 1-3.
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). ยุทธศาสตร์กระทรวงพ.ศ. 2560- 2564 และยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวง พ.ศ. 2560-2564 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพฯ : กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สุทธินันท์ สุวรรณวิจิตร และบุญเรือง เตชะวิวัฒน์กุล. (2564). การกระจายอำนาจการปกครอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 123-134.
สุรภัทร์ พิไชยแพทย์. (2561). อนาคตท้องถิ่นไทยที่มิใช่รัฐส่วนกลาง : สิ่งที่ขาดหายไปจากการกระจายอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 10(2), 350-361.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2552). โอกาสของท้องถิ่นกับวาระการแก้ไขปัญหาวิกฤตของชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
Owen, T. (2010). Human Security: A Contested Contempt. New York : Routledge.
Titmuss, R. (1974). Social Policy : An Introduction. London : Allen and Unwin Ltd.