รูปแบบการบริหารความร่วมมือพหุภาคีเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา โรงเรียนบ้านน้ำมิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) สร้างรูปแบบ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารความร่วมมือพหุภาคีเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา โรงเรียนบ้านน้ำมิน ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 25 คนสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบพร้อมแก้ไขปรับปรุงโดยผู้เชี่ยวชาญ 7 คน ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบโดยนำรูปแบบไปปฏิบัติจริงร่วมกับพหุภาคี 25 คน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบโดยพหุภาคี จำนวน 35 คน ในปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสรุปข้อมูล แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมิน แบบสะท้อนผล สถิติที่ใช้อธิบายข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพ คือ วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรียนมีความต้องการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งแวดล้อม พัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เปิดโอกาสให้พหุภาคีทุกภาคส่วนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมดำเนินการ 2) รูปแบบมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขอบเขตความร่วมมือ กลไกความร่วมมือของพหุภาคี กระบวนการบริหารความร่วมมือพหุภาคี การประเมินผล เงื่อนไขความสำเร็จ 3) ผลการใช้รูปแบบ พบว่า พหุภาคีให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม สนับสนุนงบประมาณ องค์ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ และพัฒนาศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อม 9 ฐานการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก โดยแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ คือ ภาพกิจกรรม นักเรียนร้อยละ 96.65 มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดีขึ้นไป และนักเรียนมีคุณลักษณะที่ดีและค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสมในการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 75.35 และ 4) รูปแบบโดยรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเหมะสม และความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กาญจนา เงารังษี. (2559). การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), 13-18.
กุลทัต หงส์ชยางกูร และปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (2562). การสร้างและการบริหารเครือข่าย. เข้าถึงได้จาก http://hsmi2.psu.ac.th/upload/forum/paper_1598_ 5f69ce 9304e915f69ce.pdf
พฤฒ เอมมานูเอล, ใบระหมาน และอัมพร ธำรงลักษณ์. (2552). การสร้างความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้าแรงงานทาสบนเรือประมง. (ภาคนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ). คณะรัฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. (2565). กระบวนทัศน์การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยงควิโรจน์ เศษวงค์. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยเครือข่ายการศึกษาของโรงเรียนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
โรงเรียนบ้านน้ำมิน. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี 2564. พะเยา : โรงเรียนบ้านน้ำมิน. (อัดสำเนา)
วรชัย วิภูอุปรโคตร. (2564). การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(3), 320-332.
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2562). หลักการสอนสิ่งแวดล้อม. พิษณุโลก : การพิมพ์ดอทคอม.
สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สมจิต สวธนไพบูลย์ และคณะ. (2550). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแบบเครือข่ายสถานศึกษา (School cluster). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สมบัติ ปัญญาคง. (2561). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคประชาสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2564: สภาวการณ์การจัดการศึกษาตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.
สุรเดช รอดจินดา. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคเหนือตอนบน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Anastasiou, S. & Papagianni, A. (2020). Parents', Teachers' and Principals' Views on Parental Involvement in Secondary Education Schools in Greece. Education Sciences, 10(69), 1-12.
Ibarra, H. & Hansen, M.T. (2013). HBR’s 10 Must Reads: On Collaboration. Brighton, MA : Harvard Business Review Press.
Nishimura, M. (2019). Community Participation in School Governance: The Maasai Community in Kenya. Prospects: Quarterly Review of Comparative Education, 47(4), 393-412.
Perry, M., et al. (2019). Promising Practices in Local Stakeholder Engagement in School Governance. California : PACE.