อริยวัฑฒิกับกิจกรรมจิตอาสาเพื่อการพัฒนาชุมชนบ้านหนองหัวเรือ ตำบลมหาโพธิ อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความจำเป็นและความต้องการ 2) ขับเคลื่อนกิจกรรมจิตอาสาฯ และ 3) ถอดบทเรียนกิจกรรมจิตอาสาเพื่อการพัฒนาชุมชนบ้านหนองหัวเรือ ตำบลมหาโพธิ อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ พื้นที่เชิงปฏิบัติการ คือ โรงเรียนบ้านหนองหัวเรือ ตำบลมหาโพธิ อำเภอเก้าเลี้ยว โดยขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ประกอบด้วย 1) การประชุมกลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 15 รูป/คน และลงพื้นที่เก็บข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ความจำเป็นและความต้องการ และ 2) ประชุมคณะทำงาน ในลักษณะออนไลน์ จำนวน 60 รูป/คน ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติ ประกอบด้วย 1) มอบหมายงาน ความรับผิดชอบ 2) ประสานงานในเชิงพื้นที่ และ 3) ขับเคลื่อนกิจกรรมจิตอาสาฯ และขั้นตอนที่ 3 การถอดบทเรียน ประกอบด้วย 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน และ 2) การสนทนากลุ่มกับคณะทำงานและผู้มีจิตสาธารณะ จำนวน 25 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมที่จะขับเคลื่อนพัฒนา ประกอบด้วย การปรับปรุงสนามเด็กเล่น การปรับปรุงห้องน้ำที่ชำรุด การปรับปรุงภูมิทัศน์ (ปลูกต้นไม้ /สวนหย่อม) การปรับปรุงแปลงเกษตรสาธิต การทำความสะอาดรางระบายน้ำรอบสนามฟุตบอล และการปรับปรุงซ่อมแซมระบบไฟแสงสว่างในห้องสมุด 2) กิจกรรมจิตอาสาฯ ประกอบด้วย 2.1) กิจกรรมปันน้ำใจจากพี่ มจร สู่น้องบ้านหนองหัวเรือ (มอบทุนการศึกษาและสิ่งของ) ให้กับนักเรียน 2.2) กิจกรรมฐานการพัฒนา จำนวน 7 ฐาน บนพื้นฐานความจำเป็นและต้องการของชุมชน และ 2.3) กีฬาต้านยาเสพติด และ 3) ความสำเร็จคุณค่าร่วม ประกอบด้วย 1) โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมทีดี่ 2) เกิดความร่วมมือ และสร้างความสามัคคี 3) เกิดการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น ทำงานร่วมกัน 4) เสริมสร้างความสามัคคี 5) สร้างความรับผิดชอบ และ 6) ส่งเสริมให้นักศึกษามีความเสียสละ ขณะที่ปัญหาอุปสรรค ประกอบด้วย 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการไม่ชัดเจน 2) ระยะเวลาที่จำกัด การประชุมงานร่วมกันไม่เพียงพอ ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้ไม่สามารถควบคุมเวลาได้ตามกำหนดการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
บุษราภรณ์ ติเยาว์, ปาริชาติ วลัยเสถียร และวิวัฒน์ หามนตรี. (2562). ขบวนการจิตอาสา : การขัดเกลาทางสังคมกับการพัฒนาตนของเยาวชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(ฉบับเพิ่มเติม), 67-78.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). เครื่องวัดความเจริญของชาวพุทธ (อารยวัฑฒิ 5). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จํากัด.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545. (2545, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 119 ตอนที่ 123ก, (น. 16-21).
มนูญพงศ์ ชัยพันธุ์, สุดใจ เขียนภักดี และอนุสรณ์ นามประดิษฐ์. (2565). จิตสาธารณะกับวิถีชีวิตของบุคคลในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(2), 434-435.
โรงเรียนบ้านหนองหัวเรือ. (2565). ข้อมูลโรงเรียน. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com /pracharath.ac.th/bannonghueruea/หนาแรก/ประวตโรงเรยน
สำนักงานสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน. (2559). คู่มือการทำแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น. เข้าถึงได้จาก https://web.codi.or.th/wp-content/uploads/2019/05/book-MANUAL-plan180859.pdf
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. (3rd ed.) Victoria : Deakin University.