แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วม ดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 8
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วม ดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของครู 2) เปรียบเทียบสภาพการมีส่วนร่วม ดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของครู จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การปฏิบัติงาน และ 3) หาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วม ดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 8 เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูศูนย์การศึกษาพิเศษจำนวน 181 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .875 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การทดสอบที การทดสอบเอฟ และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน โดยแบบสัมภาษณ์แบบโครงสร้างที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นตามกรอบแนวคิดในการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการมีส่วนร่วม ดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 8 โดยรวมอยู่ในระดับมากและปัญหาการมีส่วนร่วมครูส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ ไม่รู้วิธีขั้นตอนการดำเนินงาน ไม่มีการสร้างรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะนำมาดำเนินการ สถานศึกษาส่วนใหญ่ขาดการควบคุม ตรวจสอบและประเมินผล 2) ผลเปรียบเทียบสภาพการมีส่วนร่วมดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 8 จำแนกตามระดับการศึกษาและจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่า ไม่แตกต่าง และ 3) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วม ดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของครู คือ ผู้บริหารควรส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพทุกขั้นตอน จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระบบงานประกันคุณภาพให้ครูมีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กัณหา คงหอม. (2560). การดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เพื่อการประกันคุณภาพภายใน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ธัญญ์กนก ผดุงทรง และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2565). การประเมินโครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพของสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 37-48. https://doi.org/10.14456/jra.2022.133
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2558). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 4(1), 143-160.
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2560). เอกสารประกอบการสอนวิชาความเป็นครู. กำแพงเพชร : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
มินา เนียมนคร และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). การประเมินโครงการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านร่วมเกล้า 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฐมศึกษาตาก เขต 2. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 5(9), 46-59.
วราภรณ์ ไทยมา. (2564). การบริหารความร่วมมือในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี. (รายงานการวิจัย). นครปฐม : สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4.
สมใจ ยอดปราง. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุพรรณี จันทร์งาม และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 5(9), 90-103.
Krejcie, R.V. & Mogan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.