ผลการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนโรงเรียนบุญวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

Main Article Content

สุพล จอกทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบุญวัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังได้รับการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ คณะครูโรงเรียนบุญวัฒนา จำนวน 193 คน นักเรียน จำนวน 3,999 คน ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบประเมินสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และ 2) แบบสรุปผลการเรียนของนักเรียน ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติโดยการแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูอยู่ในระดับมากทุกด้าน และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นหลังจากครูได้รับการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยผลการเรียนรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 มีผลการเรียนเฉลี่ย 3.42 เมื่อเปรียบเทียบกับผลการเรียนเฉลี่ยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 (3.28) และในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนระดับดีเพิ่มขึ้นโดยได้เกรดเฉลี่ยตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 80.75 ของนักเรียนทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับผลการเรียนเฉลี่ยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 (75.61)  และผู้เรียนมีผลการเรียน 0, ร, มส. ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

How to Cite
จอกทอง ส. . (2024). ผลการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนโรงเรียนบุญวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. วารสารวิจยวิชาการ, 7(5), 191–206. https://doi.org/10.14456/jra.2024.94
บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ ทิพยเนตร. (2561). การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

งานวัดผลโรงเรียนบุญวัฒนา. (2563). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนโนนสูงศรีธานี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. (อัดสำเนา)

เฉลิมพล สุปัญญาบุตร (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24. วารสารวิชาการแสงอีสาน, 16(2), 266-280.

นาถชนก ภูมั่ง และคณะ. (2563). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. (วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning). วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 327-336.

พลอยไพลิน นิลกรรณ์. (2562). แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 35. เข้าถึงได้จาก http://www.sesalpglpn.go.th/wp-content/uploads/2019/12/book10-62.pdf

ไพผกา ผิวดำ. (2563). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 1-18.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

สายสวาท เสาร์ทอง และเด่น ชะเนติยัง. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาเรียนรู้ยุค 4.0 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4281-4296.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. เข้าถึงได้จาก http://www.tw-tutor.com/downloads/competency.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://www.skmpeo.moe.go.th/web/images/file.pdf

สุพล จอกทอง. (2565). การพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ร่วมกับรูปแบบการบริหารสถานศึกษา STN@GG Model. ของโรงเรียนโนนสูงศรีธานี. เข้าถึงได้จาก https:// 31.mattayom31.go.th/wp-content/uploads/2023/09/บทความวิจัย-ผอ.สุพล-จอกทอง.pdf

แสงรุนีย์ มีพร. (2563). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ : เส้นทางสู่การพัฒนาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(2), 1-12.

อริสา นพคุณ, บรรจบ บุญจันทร์ และสุวิมล ตั้งประเสริฐ (2561). การพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 12(3), 232-244.

Dikovic, M. & Gergoric, T. (2020). Teachers’ assessment of active learning in teaching Nature and Society. Economic Research. 33(1), 1265-1279. https://doi.org/10.1080/1331677X.2020.1728563

McClelland, D. (2004). A Guide to Job Competency Assessment. The United State of America : Davies Black Publishing, a Division of CPP.

Virtanen, P., Niemi, M. H. & Nevgi, A. (2017). Active Learning and Self-Regulation Enhance Student Teachers’ Professional Competences. Australian Journal of Teacher Education, 42(12), 1-21.

Yang, X. & Chen, P. (2022). Applying Active Learning Strategies to Develop the Professional Teaching Competency of Chinese College Student Teachers in the Context of Geography Education. International Journal of Learning, Teaching and Educational Research, 21(7), 178-196. https://doi.org/10.26803/ijlter.21.7.10