การสร้างพลเมืองตื่นรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพลเมืองตื่นรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานผ่านรายวิชา การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมพหุวัฒนธรรม วิธีดำเนินการวิจัยเป็นเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พื้นที่วิจัย ประกอบด้วย 3 พื้นที่ คือ 1) ชุมชนบ้านทรายขาวตก ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ 2) ชุมชนบ้านบานา ตำบลบานา อำเภอเมือง และ 3) ชุมชนบ้านพ่อมิ่ง ตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปานะเระ จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ 1) สมาชิกในชุมชนที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมใน 3 พื้นที่ รวมทั้งสิ้น 30 คน และ 2) กลุ่มนักศึกษาที่นำกระบวนการสร้างการตื่นรู้ไปประยุกต์ใช้ใน 3 พื้นที่ รวมทั้งสิ้น 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ 2) แบบสังเกตการมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการสังเกต ผลการวิจัย พบว่า การสร้างพลเมืองตื่นรู้ผ่านการทำงานวิจัยในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมพหุวัฒนธรรมนั้น ได้เกิดขึ้นโดยการใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ ได้เกิดขึ้นโดยการสร้างร่วมมือกันระหว่างสมาชิกในกลุ่มนักศึกษา และสมาชิกในชุมชนร่วมกันแก้ไขปัญหาและหาแนวทางพัฒนา เพื่อให้เกิดใช้ทรัพยากรที่เป็นต้นทุนทางสังคมอย่างคุ้มค่า ทั้งนี้ประเด็นการวิจัยได้เกิดข้อค้นพบ คือ การสร้างพลเมืองตื่นรู้ผ่านกระบวนการตามหลักการ PDCA นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้กลุ่มนักศึกษาได้ลงพื้นที่ศึกษาสภาพปัญหา ค้นหาองค์ความรู้เพื่อการแก้ไข ทดลองปฏิบัติ เรียนรู้การแก้ไขและพัฒนา และนำความรู้ไปสู่กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ความก้าวหน้าปฏิรูปการศึกษาในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/moe/upload/ news20/FileUpload/41611-3669.pdf
คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
มนัส สุวรรณ. (2549). การจัดการสิ่งแวดล้อม: หลักการและแนวคิด. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
รจรินทร์ ผลนา. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). ท้องถิ่นชุมชนเข้มแข็ง พัฒนาสังคมสุขภาวะยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สุขสันต์ สุขสงคราม. (2564). แนวคิดการบริหารแบบวงจรคุณภาพ (PDCA) กับการบริหารแบบพระพุทธศาสนา. วารสารธรรมวัตร, 2(1), 39-49.
หทัยรัตน์ ดุจจานุทัศน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมกับความตระหนักในจรรยาบรรณวิชาชีพครูของครูผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). วิทยาลัยครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Good, V. C. (1973). Dictionary of education. (3rd ed). New York : McGraw-Hill.
Spady, W. D. (1994). Outcomes Based Education: Critical Issues and Answers. Arlington, VA : American Association of School Administration.