กระบวนการตรวจสอบข่าวลวงในระดับภูมิภาค : กรณีศึกษาจากศูนย์ข้อมูลตรวจสอบข่าวลวง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

นิษฐา หรุ่นเกษม
นิศรารัตน์ วิไลลักษณ์
สุมีนตรา พัฒชนะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการตรวจสอบข่าวลวงของศูนย์ข้อมูลตรวจสอบข่าวลวง จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ ได้แก่ ผู้ดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลตรวจสอบข่าวลวง จังหวัดอุบลราชธานี และตัวแทนจากอีสานโคแฟคที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการตรวจสอบข่าวลวง จำนวน 2 คน ตัวแทนจากโคแฟค (ประเทศไทย) และตัวแทนจากสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จำนวน 3 คน และสังเกตการณ์กิจกรรมในระหว่างเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 กิจกรรม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสังเกตการณ์กิจกรรม ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการตรวจสอบข่าวลวงในระดับภูมิภาคของศูนย์ข้อมูลตรวจสอบข่าวลวง จังหวัดอุบลราชธานี มีลักษณะดังนี้ 1) แหล่งที่มาของข่าวลวง มาจากช่องทางการสื่อสารของสื่อท้องถิ่นที่ผู้ดำเนินงานรับผิดชอบ หรือการสอบถามข้อมูลจากคนในพื้นที่โดยตรง 2) วิธีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและคัดกรองข้อมูลลวง มีทั้งการติดตามข้อมูลจากแหล่งข่าวโดยตรง และการติดตามข้อมูลสืบเสาะต่อผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์อื่น ๆ และ 3) การขยายผลข้อมูลการตรวจสอบข่าวลวง มีทั้งสื่อสารผ่านฐานข้อมูลโคแฟคส่วนกลาง และช่องทางการสื่อสารของพื้นที่ เช่น Ubon Connect หรือไลน์แชทบอท งานวิจัยนี้เสนอแนะให้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศูนย์ข้อมูลตรวจสอบข่าวลวงในระดับภูมิภาคกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการทำงานร่วมกัน ควรสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงและปลูกฝังความรู้เท่าทันสื่อรู้เท่าทันข่าวลวงแก่ประชาชน ควรต่อยอดประเด็นการวิจัยโดยให้เปรียบเทียบกระบวนการทำงานเพื่อตรวจสอบข่าวลวงกับองค์กรอื่น ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย และองค์กรต่างประเทศ รวมถึงศึกษาพฤติกรรมของผู้เผยแพร่ข่าวลวงและบทบาทของภาครัฐและภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาข่าวลวง เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาข่าวลวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
หรุ่นเกษม น. ., วิไลลักษณ์ น. ., & พัฒชนะ ส. . (2024). กระบวนการตรวจสอบข่าวลวงในระดับภูมิภาค : กรณีศึกษาจากศูนย์ข้อมูลตรวจสอบข่าวลวง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 7(5), 225–240. https://doi.org/10.14456/jra.2024.96
บท
บทความวิจัย

References

กัณฐ์ทัพ เลิศฤทธิเศรษฐ์. (2562). กระบวนการนำเสนอข่าวและการคัดกรองข่าวปลอมของรายการข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 7HD. (รายงานการค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณภัทร เรืองนภากุล และรดี ธนารักษ์. (2564). รายงานการวิจัยเรื่อง “ทำไมต้องค้นหาความจริงร่วม : Why Cofact matters. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/entertain ment/detail/9640000069306

นิษฐา หรุ่นเกษม นิศรารัตน วิไลลักษณ์ และสุมีนตรา พัฒชนะ. (2565). การวิจัยและประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ข้อมูลตรวจสอบข่าวลวง 7 ศูนย์ข้อมูล. กรุงเทพฯ : โคแฟค (ประเทศไทย) สนับสนุนการดำเนินงานโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

พรรณวดี ชัยกิจ และสุมนทิพย์ จิตสว่าง. (2564). การแพร่กระจายของข่าวลวงเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการป้องกันของไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 15-32.

มานิจ สุขสมจิตร. (2564). Fake News: ข่าวลวง ข่าวปลอม. กรุงเทพฯ : สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://tja.or.th/view/pr-news/1332786

วัชระ จิรฐิติกาลกิจ และคณะ. (2566). จริยธรรมสื่อกับการจัดการข่าวลวงในสภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.).

Humprecht, E. (2020). How do they debunk “fake news”? cross-national comparison of transparency in fact checks. Digital Journalism, 8(3), 310-327. DOI: 10.1080/21670811.2019.1691031

Wardle, C. (2017). Fake news. It’s complicated. Retrieved from https://first draftnews.org/articles/fake-news-complicated/.