มูลเหตุจูงใจและผลกระทบในการเล่นการพนันของผู้สูงวัยในชนบท

Main Article Content

น้ำผึ้ง ท่าคล่อง
เตชภณ ทองเติม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลเหตุจูงใจและผลกระทบจากการเล่นพนันของผู้สูงวัยที่มีต่อปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 44 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า มูลเหตุจูงใจในการเล่นการพนันของผู้สูงวัย ได้แก่ 1) การพนันเป็นเรื่องของการเสี่ยงโชค 2) การพนันทำให้รู้สึกสนุกสนานและตื่นเต้น และ 3) การพนันอาจจะทำให้รวยทางลัด ส่วนผลกระทบจากการเล่นการพนันผู้สูงวัยที่มีต่อปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีดังนี้ ด้านปัจเจกบุคคล ได้แก่ (1) การเล่นพนันทำให้ถูกจับ/ปรับ (2) การเล่นพนันทำให้เกิดความเครียด/วิตกกังวล และ (3) การเล่นพนันทำให้คิด/กระทำสิ่งผิดกฎหมายเพื่อนำเงินไปเป็นทุนในการเล่นพนัน ด้านครอบครัว ได้แก่ เช่น (1) การพนันทำให้ทะเลาะเบาะแว้งกับคนในครอบครัว (2) การพนันทำให้ขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัว และ (3) การพนันทำให้ลูกหลานเป็นกังวล ไม่มีความสุข และด้านชุมชนและสังคม ได้แก่ (1) การพนันทำให้เกิดพฤติกรรมลักเล็กขโมยน้อยภายในชุมชน (2) การพนันทำให้บุคคลขาดความรับผิดชอบต่ออาชีพของตนเอง และ (3) การพนันทำให้เกิดปัญหายาเสพติดเพิ่มมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ท่าคล่อง น. ., & ทองเติม เ. . (2024). มูลเหตุจูงใจและผลกระทบในการเล่นการพนันของผู้สูงวัยในชนบท. วารสารวิจยวิชาการ, 7(5), 259–274. https://doi.org/10.14456/jra.2024.98
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566ก). จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรไทย. เข้าถึงได้จาก https:// www.dop.go.th

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566ข). จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรไทย. เข้าถึงได้จาก https:// www.dop.go.th

กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์ และธีรโชติ ภูมิภมร. (2559). เยาวชนกับการพนัน : ปัจจัยเสี่ยง ความเปราะบางและผลกระทบทางสังคม. (รายงานการวิจัย). ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชญาดา ตานุวงศ์ และสุภัชญา ธานี. (2561). สถานการณ์และผลกระทบที่เกิดจากการพนันในนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 15(2), 60-74.

ทิพวัลย์ รามรง และคณะ . (2565). “หวยใต้ดิน” ในผู้สูงวัย: สถานการณ์ และแนวทางลดผลกระทบ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 48(2), 43-58.

นงนุช แย้มวงศ์. (2563). ผู้สูงอายุกับปัญหาติดการพนัน: ปัจจัยเสี่ยง คุณภาพชีวิต และผลกระทบทางสังคม. (รายงานการวิจัย). ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลลักษณ์ ลังกา และคณะ. (2564). พฤติกรรมการติดพนันออนไลน์: ปัจจัยเชิงสาเหตุ กระบวนการ ผลกระทบทางพฤติกรรมศาสตร์ และแนวทางการช่วยเหลือผู้ที่ติดพนันออนไลน์ สำหรับครูแนะแนวในสถานศึกษา. (รายงานการวิจัย). ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. (2559). การพนันในยุคเปลี่ยนผ่าน. กรุงเทพฯ : เดือนตุลา.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2561). สถานการณ์การพนันในผู้สูงวัย พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและนครราชสีมา. (รายงานการวิจัย). ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อานนท์ ตั้งพิทักษ์ไกร และคณะ. (2562). โครงการวิจัยแนวทางการจัดการปัญหาการพนันในบุญงานศพโดยผู้สูงอายุและชุมชนพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ. (รายงานการวิจัย). ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุบล สวัสดิ์ผล, ประจวบ จันทร์หมื่น, ทองใบ สวัสดิ์ผล, และดวงกมล แหวนเพชร. (2562). สถานการณ์การพนันในชุมชนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา. (รายงานการวิจัย). ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed). New York : Harper Collins. Publishers.