บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 1

Main Article Content

พัทยา ไชยขันธ์
บุญมี ก่อบุญ
วันเพ็ญ นันทะศรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบทบาทผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 2) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษากับการบริหารงานวิชาการโรงเรียน 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์บทบาทผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียน และ 5) ศึกษาแนวทางพัฒนาบทบาทผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาและครูในโรงเรียน จำนวน 438 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ .28-.92 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .56-.87 และค่าความเชื่อมั่น .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการบริหารงานวิชาการโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) บทบาทผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษากับการบริหารวิชาการโรงเรียน โดยรวมสัมพันธ์กันทางลบ 4) บทบาทผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษามีอำนาจพยากรณ์ต่อการบริหารวิชาการโรงเรียน บทบาทผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มีด้านที่ควรพัฒนา คือ ด้านการส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากร และ 5) แนวทางพัฒนาบทบาท คือ ควรส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรในโรงเรียน 5.1) ได้รับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น 5.2) ได้รับการฝึกอบรมเพื่อเลื่อนวิทยฐานะในระดับที่สูงขึ้น 5.3) นำเสนอผลการจัดการเรียนรู้และนำเสนอผลงานทางวิชาการกับต้นสังกัดและอื่น ๆ 5.4) ได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้และมีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง 5.6) สร้างสื่อการสอนที่ทันสมัย 5.7) พัฒนานวัตกรรม 5.8) พัฒนาตนเองผ่านระบบ Online ต้นสังกัดและอื่น ๆ 5.9) ศึกษาดูงานตามภาระงานหน้าที่รับผิดชอบ และ 5.10) มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เสริมสร้างค่านิยมในการทำงานเป็นทีม มีคุณธรรม จริยธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริต

Article Details

How to Cite
ไชยขันธ์ พ. ., ก่อบุญ บ. ., & นันทะศรี ว. . (2024). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 1. วารสารวิจยวิชาการ, 7(5), 45–58. https://doi.org/10.14456/jra.2024.86
บท
บทความวิจัย

References

ไกรวัลย์ รัตนะ. (2558) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่สงขลา.

โนรียา สุงาบารู. (2557). พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู อำเภอศรีสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประทวน บุญรักษา. (2555). บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและการเป็นผู้บริหารมืออาชีพ. เข้าถึงได้จาก http://www.academia.cdu/หน่วยที่ 10 บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและการเป็นผู้บริหารมืออาชีพ. Htm.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2557). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

ยุพา พรมแย้ม. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วัชรินทร์ สุกใส. (2559). บทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สุนันธิณีย์ ม่วงเนียม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 307-318.

สุภมาส อังศุโชติ. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ใน หน่วยที่ 6 ในเอกสารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ไอลดา โสรถาวร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.