นัยยะทางการเมืองในภาพยนตร์ที่ถูกระงับการเผยแพร่ในประเทศไทย ช่วง พ.ศ. 2557-2562
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างของภาพยนตร์ที่ถูกระงับการเผยแพร่ในประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2557-2562 และ 2) ค้นหานัยยะทางการเมืองที่ซ่อนอยู่ในโครงสร้างของภาพยนตร์ที่ถูกระงับการเผยแพร่ในประเทศไทยในช่วงพ.ศ. 2557-2562 เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์แบบสัญวิทยาร่วมกับแนวทางการวิเคราะห์แบบโครงสร้างนิยม ผลการวิจัย พบว่า 1) โครงสร้างของภาพยนตร์ที่ถูกระงับการเผยแพร่ด้วยเหตุผลทางการเมืองในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาทั้ง 3 เรื่อง มีการจัดวางความสัมพันธ์ของตัวละครให้เป็นคู่ตรงข้ามกัน 2 คู่ ได้แก่ ดี-เลว และ กระทำ-ถูกกระทำ โดยตัวละครที่เป็นฝ่ายรัฐบาลถูกวางให้เป็นตัวละครที่เลวและเป็นผู้กระทำ ซึ่งภาพยนตร์ได้เน้นย้ำภาพของรัฐบาลที่กระทำการกดขี่ประชาชนโดยไม่ต้องรับผลร้ายใดใดตามมา และ 2) การสื่อนัยยะทางการเมืองว่า “รัฐบาลที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตไม่ใช่รัฐบาลที่ดี” แสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาทางการเมืองซึ่งคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติในช่วงเวลานั้นเลือกที่จะระงับการเผยแพร่นั้น เป็นภาพยนตร์ที่โจมตีรัฐบาลที่มีลักษณะอำนาจนิยม ทุจริตคอร์รัปชัน และอยู่เหนือกฎหมาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กำจร หลุยยะพงศ์. (2554). ดูหนังด้วยแว่นทฤษฎี: แนวคิดเบื้องต้นของการวิเคราะห์ภาพยนตร์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 6(1), 21-50.
ไชยรัตน์ เจริญสันโอฬาร. (2545). สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยม กับการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : วิภาษา.
ไชยรัตน์ เจริญสันโอฬาร. (2558). อัตวิสัย/วัตถุวิสัยในสังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. 2473. (2473, 21 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 47, หน้า 194-200.
พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551. (2551, 4 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 42 ก, หน้า 116-140.
ภัทราวดี เสนา. (2564). กลวิธีการเล่าเรื่องและการสะท้อนสังคมในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอะคาเดมี พ.ศ. 2553-2562. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์). วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ : มหาวิทยาลัยรังสิต.
ไรวินทร์ ทันอินทรอาจ. (2564). การสะท้อนปัญหาสังคมผ่านภาพยนตร์ของ บง จุนโฮ. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์). วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ : มหาวิทยาลัยรังสิต.
อุสุมา สุขสวัสดิ์. (2561). รัฐกับศักยภาพของภาพยนตร์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 115-125.
Bobwong. (2023). Banned in China. Retrieved from https://www.imdb.com/list/ls002709081/