การเสริมสร้างพลังชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวโสตาปัตติยังคธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพลังชีวิตของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาหลักโสตาปัตติยังคธรรมสำหรับการเสริมสร้างพลังชีวิตของผู้สูงอายุ และ 3) บูรณาการการเสริมสร้างพลังชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวโสตาปัตติยังคธรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 20 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) พลังชีวิตของผู้สูงอายุ เป็นพลังที่หล่อเลี้ยงชีวิตทั้งกายและใจในทางที่ดี ช่วยให้ผู้สูงอายุดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันอย่างมีชีวิตชีวา มีจิตใจเข้มแข็งเป็นสำคัญ สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ดีทั้งทางกายภาพ ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย การได้รับอากาศบริสุทธิ์ การรับประทานอาหารทางกายและทางใจอย่างเพียงพอ และทางจิตภาพด้วยแรงขับเคลื่อนภายในจิตที่สนับสนุนกัน 2) โสตาปัตติยังคธรรม เป็นธรรมที่ส่งเสริมให้เป็นพระโสดาบัน ทำให้เป็นผู้มีพลังชีวิตเพราะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี คบคนดี พิจารณารอบคอบ และปฏิบัติตนตามหลักการที่ถูกต้อง ช่วยพัฒนาทั้ง 3 ด้าน คือ พัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา และ 3) บูรณาการการเสริมสร้างพลังชีวิตผู้สูงอายุตามแนวโสตาปัตติยังคธรรม โดยสังเคราะห์การเกิดพลังชีวิตของผู้สูงอายุใน 4 ด้านคือ (1) ด้านพลังกาย (2) ด้านพลังความรู้ (3) ด้านพลังความคิด (4) ด้านพลังการกระทำที่ถูกต้อง ส่งผลให้ดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายเชิงสร้างสรรค์ เป็นพลังกระตุ้นให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ถูกต้องดีงาม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). แผนปฏิบัติราชการกรมกิจการผู้สูงอายุ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570). เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/laws/1/34/845
ชัชวาล วงค์สารี และศุภลักษณ์ พื้นทอง. (2561). ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ: การพยาบาลและการดูแลญาติผู้ดูแล. วารสาร มฉก.วิชาการ, 22(43), 166-179.
ปริยสุทธิ์ อินทสุวรรณ. (2562). สร้างพลังใจให้สูงวัยยามชรา. เข้าถึงได้จาก https://www. thaihealth.or.th/Content/
พระครูพิสณฑ์สิทธิการ (อรุณ ธมฺมวโร). (2561). กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะพลังบวกของผู้สูงอายุตามแนวพุทธจิตวิทยา. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พันวิภา กฤษฎาชาตรี. (2562). ภาวะพุทธิปัญญาการรู้คิดต่อความจำของผู้สูงอายุ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 63-72.
เพชรรัตน์ เจิมรอด. (2560). ชี่กงกับการดูแลสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 10(1), 44-54.
ภัทรพล น้ำใจสุข. (2560). แนวคิดและรูปแบบการปฏิบัติเพื่อความเป็นโสดาบันในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(3), 123-132.
ระวี สัจจโสภณ. (2556). แนวคิดทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 34(3), 471-490.
วนิดา ชุลิกาวิทย์ และพระมหาจักรพล อาจารสุโภ. (2565). วิถีแห่งอานาปานสติสู่ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้สูงอายุ. วารสารปณิธาน, 18(2), 100-127.
สกล เหลืองไพฑูรย์. (2561). การเสริมสร้างความคิดเชิงบวกตามแนวพุทธธรรม. (ดุษฎีบัณฑิตศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุวิญ รักสัตย์. (2561). พุทธิปัญญากับการปรับสมดุลชีวิต. วารสารธรรมธารา, 5(1), 40-71.
อุษา โพนทอง. (2556). พลังของการเป็นผู้สูงอายุ (พฤฒพลัง). เข้าถึงได้จาก https://thai tgri.org/ ?p=272
Thepa, P. C. A., et al. (2022). The promoting mental health through Buddha dhamma for members of the elderly club in nakhon pathom province, Thailand. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 33334-33345.