กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลจากเอกสารชั้นต้น-ชั้นรอง การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการในโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่นและท้องที่ ผู้นำชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีส่วนร่วมในการก่อรูปโรงเรียนผู้สูงอายุ นับตั้งแต่ พ.ศ.2557 โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียน ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาในการบริหารรจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยเชิญครูเกษียณอายุ เกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน ที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุเข้ามีส่วนร่วม เป็นการขับเคลื่อนโครงการจากระดับฐานราก 2) การมีส่วนร่วมในขั้นวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์วิธีการแนวทางการดำเนินงาน ร่วมกันดำเนินการโดยครูที่เกษียณอายุดำเนินการร่างหลักสูตรและจัดกิจกรรมที่เหมาะสม 3) การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินโครงการ การจัดการเรียนการสอน การสลับบทบาทจากนักเรียนและเป็นผู้สอน โดยเฉพาะในวิชาเกี่ยวกับองค์ความรู้และความถนัดของผู้สูงอายุแต่ละคนและมีหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ ทหาร ตำรวจ สถาบันการศึกษา สาธารณสุข เข้าร่วมทำกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ เช่น กรณีด้านสาธารณสุข มีการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้น ตรวจวัดความดัน เป็นต้น และ 4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการโดยการประชุมร่วมกัน พบว่าหลังจากเปิดโรงเรียน มีผู้สูงอายุที่เรียนครบตามหลักสูตรแต่ยังคงมีความผูกพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน “เรียนจบแล้วแต่ไม่ยอมจบ” “อาการป่วยซึมเศร้าบรรเทาลง” ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่มีการปรับปรุงหลักสูตร เป็นหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต เกิดอาชีพ เกิดรายได้ เกิดความผูกพันและผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
เจมส์ แอล เครย์ตัน. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม. (วันชัย วัฒนศัพท์, ถวิลวดี บุรีกุล, เมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี, ผู้แปล). ขอนแก่น : โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และราชการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2565. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน).
ณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ. (2562). สถิติเผย ประชากรไทยจะเพิ่มเป็นเกือบ 70 ล้านคนในปี 2025 แนวโน้มเติบโตน้อยสุดในอาเซียน. เข้าถึงได้จาก https://thestandard.co/thailand-population/
ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). การมีส่วนร่วม แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
ทรงวุฒิ เรืองวาทศิลป์. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาในพื้นที่บริการของโรงเรียนล้อมแรดวิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ คนที่ 1. (2566, 19 พฤษภาคม). กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ. (วงธรรม สรณะ, ผู้สัมภาษณ์)
นักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ คนที่ 2. (2566, 19 พฤษภาคม). กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ. (วงธรรม สรณะ, ผู้สัมภาษณ์)
นักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ คนที่ 3. (2566, 19 พฤษภาคม). กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ. (วงธรรม สรณะ, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้บริหารองค์กรปกครองปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขับเคลื่อนกิจการโรงเรียนผู้สูงอายุ. (2566, 19 พฤษภาคม). กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ. (วงธรรม สรณะ, ผู้สัมภาษณ์)
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลวังใหม่. (2563). พิธีมอบปัญญาบัตรโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวังใหม่. เข้าถึงได้จาก http://chan.nfe.go.th/wangmai/ ?name =news1&file =read news&id=88 .
อดีตครูเกษียณอายุราชการ. (2566, 19 พฤษภาคม). กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ. (วงธรรม สรณะ, ผู้สัมภาษณ์)
United Nation. (2022). World Population Prospects 2022. Retrieved from https://reliefweb.int/ report/world/world-population-prospects-2022-summary-results?gad_source=1&gclid= CjwKCAiAg9urBhB_EiwA gw88 mdB mCbkM TC27 WDOkdM99Ro384rypksf_IwBd8 WkK BneQB9FRxMDSh xoCoq QQAvD_BwE