สัญญะพระสุพรรณกัลยากับท้องถิ่นนิยมจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อค้นพบเบื้องต้นงานวิจัยสัญญะพระสุพรรณกัลยากับท้องถิ่นนิยมจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมถึงข่าวสารที่ปรากฎบนสื่อออนไลน์ ผลการวิจัย พบว่า พระสุพรรณกัลยาเป็นขัตติยนารีแห่งราชสำนักอยุธยามีพัฒนาการทางสังคมและประวัติศาสตร์มาจากวีรสตรีที่เสียสละเพื่อชาติบ้านเมืองโดยในเบื้องต้นไม่ได้เกิดจากการสร้างของรัฐ แต่เกิดจากบุคคลธรรมดาเป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวและจุดประเด็นเป็นกระแสจนมีการผลิตซ้ำอย่างต่อเนื่องกลายเป็นปรากฎการณ์ในสังคมไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 จนถึงปัจจุบัน พระสุพรรณกัลยาเป็นสตรีที่ได้รับการยกย่องเคารพนับถือและศรัทธาในเรื่องความเสียสละจนกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลกเพิ่มขึ้นจากเดิมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็นพระอนุชาได้รับการยกย่องให้เป็นวีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชความเป็นชาติไทยในครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา สัญญะ พระสุพรรณกัลยาปรากฎผลเชิงประจักษ์เป็นรูปเคารพ สถานที่ เครื่องสักการะ พิธีกรรม บทสวดคาถา และบทเพลง ตั้งอยู่ตามสถานที่ราชการ วัด บริษัท ห้างร้าน ตลอดจนบ้านเรือนประชาชน เป็นเครื่องแสดงความสำเร็จและความศรัทธาที่มีต่อพระสุพรรณกัลยาหลอมรวมเป็นวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กษริน วงศ์กิตติชวลิต. (2552). ภาพตัวแทนของพระสุริโยทัยในวรรณกรรมไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). คณะอักษรศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2560). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองและสื่อสารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี : บริษัท มาตาการพิมพ์ จำกัด.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2540) ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่/ขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมในต่างประเทศ: บทสำรวจพัฒนาการสถานภาพและนัยยะเชิงความคิด/ทฤษฎีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก.
ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี. (2557). เจ้าแม่สองนาง: การสร้างความหมายของความเชื่อและบทบาทในการเสริมพลังท้องถิ่น. วารสารแพรวา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1(2), 32-63.
แถมสุข นุ่มนนท์. (2522). ฟื้นอดีต. นนทบุรี : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
ทรงภพ ขุนมธุรส. (2549). ขัตติยนารีในนวนิยายไทยอิงประวัติศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธวัลรัตน์ พรหมวิเศษ. (2562). ตำนาน “ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” กับกระบวนการทำให้ศักดิ์สิทธิ์. วารสารรูสมิแล, 40(1), 35-54.
นพพร ประชากุล. (2547). “โรล็องด์ บาร์ตส์ กับสัญศาสตร์วรรณกรรม” มายาคติ. สารนิพนธ์จาก Mythologies ของ Roland Barthes ; แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย วรรณพิมล อังคศิริสรรพ. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ปาริชาติ ไชยชนะ. (2544). กระแสการสื่อสารฟื้นอดีต : ศึกษากรณีพระสุพรรณกัลยาและพันท้ายนรสิงห์. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
พลับพลึง คงชนะ. (2543). กระแสศรัทธาพระสุพรรณกัลยา : ปรากฏการณ์ที่สะท้อนปัญหาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์. วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 25(1), 17-28.
พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม. กรุงเทพฯ : กองทุนอินทร์-สมเพื่อการวิจัยทางมานุษยวิทยา.
พิเชฐ แสงทอง. (2562). จาก “จตุคามรามเทพ” ถึง “ไอ้ไข่” จากการพึ่งอำนาจรัฐสู่การพึ่งอำนาจราษฎร. วารสารรูสมิแล, 40(2), 27-32.
พิสิษฎ์ นาสี. (2561). “ครูบาสมัยใหม่” คุณค่าแบบล้านนาสู่ผู้เชื่อถือศรัทธาในระดับสากล. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(2), 49-86.
ภาคภูมิ สุขเจริญ. (2558). มุมมองทางคติชนวิทยากับปรากฏการณ์ความศรัทธาต่อพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคติชนวิทยา). คณะมนุษยศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รุ่งกานต์ ศรลัมพ์ และคณะ. (2557). สตรีศรีสองแคว. (อัดสำเนา)
สามชาย ศรีสันต์. (2561). ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์ บทศึกษาวิเคราะห์วาทกรรมการพัฒนา/หลังการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมมติ.
สายพิน แก้วงามประเสริฐ. (2537). ภาพลักษณ์ท้าวสุรนารีในประวัติศาสตร์ไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). คณะศิลปศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุเนตร ชุตินธรานนท์. (2562). พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์. นนทบุรี : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
สุภางค์ จันทวานิช. (2540). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาภรณ์ สงวนให้. (2536). เอกสารประกอบการเรียนสังคมศึกษา รายวิชา ส 071 ท้องถิ่นของเรา 1 จังหวัดพิษณุโลก. หมวดวิชาสังคมศึกษา โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก. (อัดสำเนา)
Barthes. R. (1968). Element of Semiology. London : Cape.
Farung, M. & Nopparat, R. (2020). Development and Wellbeing: A Case Study of the Phitsanulok 2020 Indochina Intersection New Economic Zone. Journal of Mekong Societies, 16(3), 95-115.
Gottdiener, M. (1995). Postmodern semiotics: Material culture and the form of postmodern life. Cambridge, Massachusettes : Blackwell.
Katherine, B. (2014). The Saint with Indra’s Sword: Khurrbaa Srivichai and Buddhist Millenarianism in Northern Thailand. Society for Comparative Study of Society and History, 56(3), 681-713.
Kevin, H. (1999). "Localism in Thailand: a study of globalisation and its discontents" Centre for the Study of Globalisation and Regionalisation. Working Paper No. 39/99 University of Warwick.
Leeuwan, V. (2005). Introducing Social Semitics. New York: Routledge.
McGuian, J. (1993). Studying Culture: An Introductory Reader. London : Edward Arnold.
Taylor. J. (2016). Buddhism and Postmodern Imagining in Thailand the Religiosity of Urban Space. New York : Routledge.