แนวปฏิบัติที่ดีของสถาบันอุดมศึกษาสำหรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

Main Article Content

จักรกฤษณ์ พางาม
จักรกฤษณ์ โปณะทอง
อรอุมา เจริญสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของสถาบันอุดมศึกษาสำหรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ 1) ด้านรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน 2) ด้านรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก และ 3) ด้านการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารและบุคลากรผู้เกี่ยวข้องของสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 5 แห่งที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ผลการวิจัย พบว่า แนวปฏิบัติที่ดีของสถาบันอุดมศึกษามีดังนี้ 1) ด้านการรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียภายใน ประกอบด้วย (1) ควรมีการวิเคราะห์ผลการประเมิน (2) กำหนดแนวทางการพัฒนาในประเด็น บุคลากรมีจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมด้านงบประมาณ การบริหารงานบุคคลเป็นธรรม การกำหนดแนวปฏิบัติการใช้ทรัพย์สินที่ชัดเจน การดำเนินการทางวินัยกับผู้ทุจริตหรือประพฤติมิชอบ การสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และกิจกรรม/โครงการส่งเสริม (3) การทบทวนนโยบาย/มาตรการอย่างต่อเนื่อง และ (4) ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ 2) ด้านการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ประกอบด้วย (1) ควรมีการวิเคราะห์ผลการประเมิน (2) กำหนดแนวทางการพัฒนาในประเด็น การเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานและการให้บริการ การมีส่วนร่วมจากผู้รับบริการ การนำเทคโนโลยีมาใช้ การมีระบบติดตามการบริการ การประเมินความพึงพอใจ การสื่อสารกับผู้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ และกิจกรรม/โครงการส่งเสริม (3) การทบทวนนโยบาย/มาตรการอย่างต่อเนื่อง และ (4) ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ และ 3) ด้านการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ประกอบด้วย (1) ควรมีการวิเคราะห์ผลการประเมิน (2) กำหนดแนวทางการพัฒนาในประเด็น การกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน การทำความเข้าใจกับหลักเกณฑ์ การชี้แจงผู้รับผิดชอบ รวบรวมข้อมูลจากผู้รับผิดชอบ การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศ และกิจกรรม/โครงการส่งเสริม (3) การทบทวนนโยบาย/มาตรการอย่างต่อเนื่อง และ (4) ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ

Article Details

How to Cite
พางาม จ. ., โปณะทอง จ. ., & เจริญสุข อ. . (2024). แนวปฏิบัติที่ดีของสถาบันอุดมศึกษาสำหรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ. วารสารวิจยวิชาการ, 7(5), 329–344. https://doi.org/10.14456/jra.2024.103
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561-2580). เข้าถึงได้จาก https://nacc.go.th/ categorydetail /2020091618461168/20220627144705?

ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle) PDCA (Deming Cycle) Management Techniques. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3), 39-46.

ธีระพงศ์ มลิวัลย์. (2565). การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกกรณีศึกษาสถาบันการเงินของรัฐ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(3), 197-210.

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 57 ก, หน้า 54-78.

พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก, หน้า 1-10.

สำนักงาน ป.ป.ช. (2566). ป.ป.ช. เผยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติประกาศผลดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ประจำปี 2565 ประเทศไทย ได้ 36 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 101 ของโลก. เข้าถึงได้จาก https://www.nacc.go.th/categorydetail /2018083118464105/20230131152920

สำนักงาน ป.ป.ช.. (2565). รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ITA Report 2022). เข้าถึงได้จาก https://itas.nacc.go.th/home/detailnews/2983

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). (อัดสำเนา)

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570). (อัดสำเนา)

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร. (2559). Academic Focus การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.