กระบวนการเข้าสู่การเป็นแรงงานถูกกฎหมายของแรงงานชาวกัมพูชาในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเข้าสู่การจ้างงานในประเทศไทยของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา และ 2) ศึกษากระบวนการทำให้แรงงานชาวกัมพูชาเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ มีการสังเกตและสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการกับผู้ให้ข้อมูลทั้ง 7 คน จำนวน 2 ครั้ง แล้วจึงทำการสัมภาษณ์กลุ่มกับแรงงานชาวกัมพูชาจำนวน 5 คน ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนายจ้าง และผู้ดูแลชุมชนแรงงานต่างด้าว เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวคำถาม 2 ชุดแยกระหว่างแรงงานและนายจ้างกับผู้ดูแล การวิเคราะห์ข้อมูลจัดทำระหว่างการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อค้นพบเพื่อสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยในปัจจุบันอนุญาตให้มีตัวแทนช่วยดำเนินการ และให้นายจ้างออกค่าใช้จ่ายก่อนได้ โดยมีนายหน้าจากทั้งสองประเทศ และ 2) กระบวนการข้ามแดนเป็นขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินได้มากที่สุด นายจ้างมักใช้นายหน้าช่วยดำเนินการเพื่อความสะดวกและลดปัญหาทั้งกับเจ้าหน้าที่และแรงงาน ทำให้นายหน้ามีหลายประเภท และการเป็นแรงงานถูกกฎหมายส่งผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของแรงงานชาวกัมพูชา ขั้นตอนที่อาจนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาได้แก่ (1) การศึกษาความจำเป็นของระบบนายหน้า (2) การตรวจสอบการละเมิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ (3) ควรมีระบบจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยที่สามารถระบุตัวตนแรงงานต่างด้าวได้เองไม่ต้องรอเอกสารจากประเทศต้นทางทั้งหมด (4) ทิศทางในการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว สามารถเรียนรู้จากการบูรณาการแรงงานเข้าสู่สังคมจากประเทศที่มีนโยบายในกลุ่มรัฐสวัสดิการ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายได้แก่ พิจารณาการใช้นายหน้าที่ขึ้นทะเบียนเป็นรายบุคคล เน้นทำงานในพื้นที่ และศึกษาแนวทางจัดสวัสดิการแก่แรงงานเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสร้างการมีส่วนร่วมในสังคมไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กองเศรษฐกิจการแรงงาน. (2566). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลอุปสงค์และอุปทานแรงงานระดับประเทศ ปี 2566. กรุงเทพฯ : กองเศรษฐกิจการแรงงาน กระทรวงแรงงาน.
ชยันต์ วรรธนภูติ. (2546). การกำหนดกรอบคิดในการวิจัยเชิงคุณภาพ ใน คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา. ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ และฐิติรัตน์ อิทธิมีชัย. (2559). ผลกระทบและมาตรการแก้ไขทางกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติกัมพูชาในเขตจังหวัดจันทบุรี: การศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายก่อนและหลังประกาศนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(1), 115-134.
พระพิสิทธิ์ เวอร์ท. (2560). วิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561. (2561, มีนาคม 27). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 19 ก, หน้า 29-59.
พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560. (2560, มิถุนายน 22). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 65 ก, หน้า 1-32.
พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555. (2555, มีนาคม 21). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 129 ตอน 28 ก, หน้า 1–4.
สันติ คำทองแก้ว, วิจิตรา ศรีสอน และสมบูรณ์ สุขสำราญ. (2565). ปัญหาและการจัดการแรงงานต่างด้าวในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลบาลขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 5(2), 17-34.
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน. (2561). แนวปฏิบัติการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ (MOU). กรุงเทพฯ : กรมการจัดหางาน.
Government Offices of Sweden. (2024). Integration. Retrieved from https://www.government.se/government-policy/integration/#:~:text=Sweden's%20integration%20policy%20is%20based,of%20ethnic%20or%20cultural%20background.
Howard, L. & Bruce, L. B. (2017). Qualitative Research Methods for the Social Sciences. (Ninth Edition). Global Edition : Pearson.