การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับนิสิตครูเพื่อเสริมสร้างทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล

Main Article Content

ชนันภรณ์ อารีกุล
เอกภูมิ เจียมวิทยานุกูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตครู 2) ออกแบบโปรแกรมการศึกษานอกระบบตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับนิสิตครูเพื่อเสริมสร้างทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล และ 3) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อเสริมสร้างทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตครู กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต 4 ปี มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 423 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้โปรแกรมการศึกษา จำนวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) นิสิตครูมีทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายทักษะ พบว่า ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่นิสิตครูมีสูงสุด คือ ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (gif.latex?\bar{X}= 4.28; S.D. = 1.12) ส่วนทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่นิสิตครูมีต่ำสุด คือ ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ (gif.latex?\bar{X}= 3.36; S.D. = 1.48) 2) คณะผู้วิจัยออกแบบโปรแกรมการศึกษานอกระบบตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับนิสิตครูเพื่อเสริมสร้างทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล โดยสร้างเป็นเว็บไซต์ ซึ่งประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) คลิปวิดีโอ และสไลด์ Power point ซึ่งผลการปรับปรุงแก้ไข พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสม สามารถนำไปต่อยอดกับกระบวนการเรียนการสอนได้ และ 3) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการทดสอบหลังเรียน (gif.latex?\bar{X}= 28.47; S.D. = 0.86) สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบ (gif.latex?\bar{X}= 17.57; S.D. = 6.10) และเมื่อเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าทีแบบ t-test for Dependent Samples พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
อารีกุล ช., & เจียมวิทยานุกูล เ. (2024). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับนิสิตครูเพื่อเสริมสร้างทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วารสารวิจยวิชาการ, 7(5), 97–112. https://doi.org/10.14456/jra.2024.89
บท
บทความวิจัย

References

ชนัญญา ใยลออ. (2560). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรมและแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการ ของสตีเฟ่น อาร์ โควี่ เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชิดชงค์ ส.นันทนาเนตร. (2560). ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณปณต โคตพัฒน์. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมสำหรับออทิสติกวัยรุ่น. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ต้องตา จำเริญใจ. (2561). ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์ และสมชัย วงษ์นายะ. (2563). แนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 26(4), 72-85.

ธนะรัตน์ ธนากิจเจริญสุข และเกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก. (2563). การพัฒนารูปแบบบทเรียนออนไลน์ระบบเปิดที่รองรับการเรียนจำนวนมากเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 8(1), 122-129.

ปอส์ ไกรวิญญ์. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์ตะวัน จันทัน, มารุต พัฒผล และสิริวรรณ ศรีพหล. (2563). คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(12), 430-444.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2557). ครูในศตวรรษที่ 21. ใน เอกสารประชุมวิชาการ อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.).

เรข์ณพัศ ภาสกรณ์. (2561). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสื่อสารระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

วรรณรี ตันติเวชอภิกุล. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับครอบครัวเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณากร พรประเสริฐ และรักษิต สุทธิพงษ์. (2562). ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(2), 104-117.

วรรณากร พรประเสริฐ, เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย, ปกรณ์ ประจัญบาน และน้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2563). การพัฒนาแบบวัดและเกณฑ์ปกติความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(3), 217-234.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ : เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

ศศิประภา เอี่ยมภูมิ. (2563). การพัฒนาแบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัด ประเมิน และวิจัยการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศศิวิมล ศรีนวล, กันธิยา เส้าเปา, และน้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2564). การพัฒนาแบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 8(2), 43-51.

ศักรินทร์ ชนประชา. (2557). การพัฒนาชุดการสอนเพื่อเสริมสร้างลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาโท โปรแกรมวิชาศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 25(3), 84-95.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). ทักษะดิจิทัลก้าวสู่พลเมืองในศตวรรษที่ 21. เข้าถึงได้จาก https://www.ops.go.th/main/index.php/knowledge-base/article-pr/1355-goto-citizens21st

เศกสรร สกนธวัฒน์. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Boyle, P. G. (1981). Planning Better Programs. New York : Mc Graw Hill Book Company.

Hiemstra, R. (1994). Helping Learners Take Responsibility for Self-Directed Activities. New Directions for Adult and Continuing Education, 64, 81-87.

Knowles, M. S., Holton III, E. F. & Swanson, R. A. (2015). The adult learner: The definitive classic in adult education and human resource development. (8th ed.). Oxon : Routlege.

Mahadir, N.B., Baharudin, N.H., Ibrahim N.N. (2021). Digital citizenship skills among undergraduate students in Malaysia: A preliminary study. International Journal of Evaluation and Research in Education, 10(3), 835-844.

World Economic Forum. (2016). 8 digital life skills all children need – and a plan for teaching them. Retrieved from https://www.weforum.org/agenda/2016/09 /8-digital-life-skills-all-children-need-and-a-plan-for-teaching-them