การจัดทำชุดบทอ่านภาษาเวียดนามที่แบ่งตามระดับความยากง่ายสำหรับผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ

Main Article Content

เหงียน ถิ เชียม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำชุดบทอ่านภาษาเวียดนามที่แบ่งตามระดับง่ายถึงยากใช้ในการอ่านภาษาเวียดนามอย่างกว้างขวางสำหรับผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ เริ่มจากการแบ่งระดับผู้เรียนภาษาเป็น 3 กลุ่ม 6 ระดับอิงตามการวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ และกรอบความสามารถทางภาษาเวียดนามสำหรับคนต่างชาติที่เรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการของประเทศเวียดนามได้แก่ ระดับพื้นฐาน A1, A2 ระดับกลาง B1, B2 และระดับสูง C1, C2 ในการสร้างชุดบทอ่านภาษาได้มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินความยากแต่ละระดับโดยพิจารณาจากการกำหนดปริมาณเฉพาะ 4 ปัจจัยในแต่ละบท ได้แก่ 1) จำนวนคำที่แตกต่างกันโดยเฉลี่ยในบทอ่าน 2) เปอร์เซ็นต์ของคำเดี่ยว คำซ้อน 2 พยางค์ และ 3 พยางค์ขึ้น 3) จำนวนประโยคเฉลี่ยในบทอ่าน 4) ความยาวของประโยคในบทอ่านโดยเป็นจำนวนคำถัวเฉลี่ยในแต่ละประโยค เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมกับเชิงปริมาณ คือใช้ข้อมูลภาษาที่วัดระดับความยากสำหรับเจ้าของภาษาแล้วสร้างเกณฑ์ใหม่โดยการลดความยากนี้ลงตามระดับที่ต่ำกว่าเพื่อปรับให้เหมาะสมกับผู้เรียนชาวไทย โดยการใช้เครื่องมือสถิติทางภาษาศาสตร์ในการหาตัวเลขปริมาณเฉพาะดังกล่าวคือ ซอฟต์แวร์ AntConc และสถิติความสามารถในการอ่านใน Microsoft Word ผลการวิจัยพบว่าบทอ่านจำนวน 137 จาก 180 บทอ่านที่เหมาะกับเกณฑ์ใหม่ซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ โดย 6 ระดับ (A1-C2) มีจำนวนคำที่แตกต่างกันโดยเฉลี่ยในบทอ่านเพิ่มขึ้นจาก 32 คำถึง 1,046 คำ เปอร์เซ็นต์ของคำเดี่ยวลดลงตั้งแต่ 0.9% ถึง 2.2% เปอร์เซ็นต์ของคำซ้อน 2 พยางค์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 0.7 % ถึง 1.4% เปอร์เซ็นต์ของคำซ้อน 3 พยางค์ เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 0 % ถึง 3 % จำนวนประโยคเฉลี่ยในบทอ่านเพิ่มขึ้นจาก 6 ถึง 174 ประโยค ความยาวของประโยคในบทอ่านเพิ่มขึ้นจาก 4.8 คำ ถึง 25.3 คำ  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

An-Vinh, L., Diep N. & Dinh Dien. (2020). Building a Corpus for Vietnamese Text Readability Assessment in The Literature Domain. Universal Journal of Educational Research, 8(10), 4996-5004. http://doi.org/ 10.13189/ujer.2020. 081073

Dale, E. & Chall, J. S. (1949). The Concept of Readability. Elementary English, 26(1), 19-26.

Điệp, Nguyễn Thị Như. (2021). Các yếu tố ảnh hưởng đến độ khó văn bản (Khảo sát sách tiếng Việt từ lớp 2 - lớp 12: Khảo sát ngẫu nhiên). (luận án tiến sĩ) HCM : Trường ĐH Khoa học xã hội và Nhân văn– ĐHQG-HCM.

DuBay, H. W. (2004). The Principle of Readability. Costa Masa, California : Impact Information.

DuBay, H. W. (2007). Smart Language: Readers, Readability, and the Grading of Text. Costa Masa, California : Impact Information.

Flesch, R. (1946). Art of Plain Talk. New York : Harpeer & Row.

Gunning, R. (1952). The Technique of Clear Writing. New York : McGraw-Hill.

Hu, M. & Nation, I.S.P. (2000). Unknown vocabulary density and reading comprehension. Reading in a Foreign Language, 13(1), 403-430.

Krashen, S.D. (1982). Principles and practice in second language acquisition. Oxford : Pergamon Press.

Ng, Q. R., Renandya, W.A. & Chong, Miao. (2019). Extensive Reading: Theory, Research and Implementation. TEFLIN Journal, 30(2), 171–186. https://doi.org/10. 15639/teflinjournal.v30i2/171-186

Nguyen, T. L. & Henkin, A. B. (1985). A Second Generation Readability Formula for Vietnamese. Journal of Reading, 29(3), 219-225.