ศึกษาและพัฒนาต้นแบบการลดปริมาณขยะอาหารภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ในชุมชนวัดมหาธาตุ เขตเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

Main Article Content

พัชญทัฬห์ กิณเรศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาต้นแบบการลดปริมาณขยะอาหารภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ในชุมชนวัดมหาธาตุ เขตเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ได้ดำเนินการตามหลักแนวคิดปิรามิดลำดับขั้นของการบริหารจัดการห่วงโซ่อาหารเพื่อลดปริมาณขยะอาหาร เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในกลุ่มเป้าหมายพื้นที่ชุมชนวัดมหาธาตุ โดยแยกกลุ่มเป้าหมายเป็น ชุมชนวัดมหาธาตุ จำนวน 58 ครัวเรือน วัดมหาธาตุ จำนวน 1 แห่ง และโรงเรียนสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง แปลงผักริมโขง จำนวน 1 แห่ง ผู้ประกอบการร้านค้า จำนวน 15 แห่งซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานมี ดังนี้ 1) ศึกษาปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนเมืองร่วมกันตั้งแต่สำรวจปริมาณขยะรายครัวเรือน สังเกตพฤติกรรมการทิ้งขยะในชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม 2) ชี้แจงโครงการแก่ชุมชน จัดตั้งคณะกรรมการระดับพื้นที่ และหน่วยงาน วางแผนการดำเนินกิจกรรม ร่วมทดลองดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ในโครงการ ประเมินผล และพัฒนาปรุงปรุงกิจกรรมให้เหมาะสมเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ และบูรณาการใช้มาตรการทางสังคม 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการชุมชนผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมพบว่า ปริมาณขยะอาหารที่เกิดขึ้นทั้งหมดในช่วงระยะเวลา 10 เดือน ถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารสัตว์ จำนวน 6,383 กิโลกรัม (6.383 ตัน) ส่งผลให้ปริมาณขยะอาหารที่ปะปนไปกับขยะประเภทอื่น ณ หลุมฝังกลบ คิดเป็นอัตราร้อยละที่ลดลง เท่ากับ ร้อยละ 56.41 จากความร่วมมือของโครงการและสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครพนม พบว่า สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 3,245.06 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากความพยายามของโครงการในการลดปริมาณขยะอาหารที่ปะปนไปกับขยะทั่วไป ด้วยการเพิ่มมูลค่าจากขยะอาหารไปสู่อาหารสัตว์นั้น ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณขยะอาหาร และมีส่วนสนับสนุนความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน. เข้าถึงได้จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2563

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และคณะ. (2562). การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการอาหารส่วนเกินเพื่อลดปัญหาขยะอาหารที่เหมาะสมกับประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2566). เพาะเลี้ยงหนอนแมลงวัน ต้นทุนต่ำ เปลี่ยนขยะเป็นทอง. เข้าถึงได้จาก https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_212169

ประพันธ์ พิมพานนท์. (2563, 20 มีนาคม). บริบทของชุมชนวัดมหาธาตุที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะก่อนดำเนินโครงการ. (พัชญทัฬห์ กิณเรศ, ผู้สัมภาษณ์)

ปิยวรรณ เสนคำ และนิรวรรณ แสนโพธิ์. (2565). ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(2), 165-175.

ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร และเทศบาลเมืองนครพนม. (2564). รายงานผลการศึกษาคัดแยกองค์ประกอบขยะมูลฝอยจังหวัดนครพนม. (รายงานผลการศึกษา). สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (อุดรธานี). (อัดสำเนา)

อานัฐ ตันโช. (2560). คู่มือการผลิตหนอนแม่โจ้. ปทุมธานี : NSTDA Shop.

Thairhatonline. (2565). Zero Waste เศษผักในตลาด แปลงเป็นอาหารสัตว์ กำจัดขยะให้เหลือศูนย์. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/news/local/2355976