แนวทางการยกระดับความเข้มแข็งของระบบงานแนะแนวระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การดำเนินงานแนะแนวสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ 2) เสนอแนวทางการยกระดับความเข้มแข็งของระบบงานแนะแนวฯ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูแนะแนวและครูที่ปรึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รวมทั้งสิ้น 43 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวนทั้งสิ้น 359 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย รวมถึงศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จำนวน 1 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ทั้งนี้ผู้ที่ให้ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการการยกระดับความเข้มแข็งของระบบงานแนะแนวที่ได้พัฒนาขึ้น คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบงานแนะแนวฯ จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์สภาพการณ์การดำเนินงานแนะแนว แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า 1) การดำเนินงานแนะแนวฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางการยกระดับงานแนะแนวฯ ควรอยู่ภายใต้กรอบ NASA-H ประกอบด้วย 2.1) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 2.2) การส่งเสริมความตระหนักและการดำเนินการ 2.3) การกำกับติดตามการดำเนินงานแนะแนว 2.4) การสร้างขวัญและกำลังใจ และ 2.5) การผลักดันเพิ่มบุคลากร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2567-2568. (อัดสำเนา)
คฑาวุธ ขันไชย. (2561). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39. วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2(2), 1-22.
จุฑามาศ โถรัตน์ และจุลดิศ คัญทัพ. (2565). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อโรงเรียนสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 5(3), 95-113.
ปนัดดา สิงห์โต. (2564). แนวทางการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 61-74.
ปริญญา นันทา. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 22(2), 61-74.
พงศ์เทพ กันยะมี, วจี ปัญญาใส และสุมิตรา โรจนมิติ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(8), 297-317.
รัตนวัชร์ เพ็ญรัตนหิรัญ. (2563). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31(2), 110-131.
วนัญญา แก้วแก้วปาน. (2565). การศึกษาการจัดบริการแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 33(1), 111-125.
สมเกียรติ เจษฎากุลทวี. (2563). ระบบการบริหารงานแนะแนวแบบมุ่งอนาคตในสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(2), 269-288.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย. (2559). ระบบการแนะแนวในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สพฐ.ประชุมชี้แจงการส่งเสริม สนับสนุน ภารกิจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในระดับชั้น ม.1-3 ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด สพฐ. เข้าถึงได้จาก https://www.obec.go.th /archives/482970
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อมรวิชช์ นาครทรรพ และคณะ. (2560). โครงการวิจัยและพัฒนาระบบและมาตรฐานการรับรองคุณภาพโรงเรียน ภายใต้โครงการโรงเรียนพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องระยะที่ 1. (รายงานการวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Arfasa, A. J. & Weldmeskel, F. M. (2020). Practices and Challenges of Guidance and Counseling Services in Secondary Schools, Emerging Science Journal, 4(3), 183-191. DOI: http://dx.doi.org/10.28991/esj-2020-01222
Falcón-Linares. C, Rodríguez-Martínez. A, Cortés-Pascual. A & Quilez-Robres. A. (2021). Counselor-Perceived Teacher Actions Needed to Carry out Educational and Vocational Guidance in Secondary Schools in Spain. Frontier in Education, 6, 1-11. https://doi.org/10.3389/feduc.2021.737163