การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไรซ์เบอร์รี่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

นันทนา แจ้งสว่าง
สุกัญญา พยุงสิน
ดวงใจ บุญกุศล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ใหม่จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ 2) วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์จากไรซ์เบอร์รี่ และ 3) พัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์จากไรซ์เบอร์รี่ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษ จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เน้นการมีส่วนร่วมจากชุมชนท้องถิ่นด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามระดับความพึงพอใจ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษทำการผลิตข้าวข้าวไรซ์เบอร์รี่ และมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่สมาชิกกลุ่ม จนสามารถพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากข้าวไรส์เบอร์รี่ จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นไรซ์เบอร์รี่ และอาหารเช้าซีเรียลข้าวไรซ์เบอร์รี่อบกรอบ โดยสมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจต่อโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และทราบต้นทุนการผลิตพร้อมกำหนดราคาขายตามกำไรที่ต้องการ 40% ของต้นทุนการผลิต คือ 1.1) ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นไรซ์เบอร์รี่ มีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 4.53 บาทต่อชิ้น กำหนดราคาขายเท่ากับ 6.34 บาทต่อชิ้น และ 1.2) ผลิตภัณฑ์อาหารเช้าซีเรียลข้าวไรซ์เบอร์รี่อบกรอบ มีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 22.20 บาทต่อถุง กำหนดราคาขายเท่ากับ 31.08 บาทต่อถุง    2) ส่งผลิตภัณฑ์ทั้งสองผลิตภัณฑ์ไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการผลิตภัณฑ์ ตามวิธีการ Association of Official Analytical Chemists (AOAC) และ 3) พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้กลุ่มสมาชิกเกิดความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ทั้งด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์และด้านรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรชัย อินทสังข์ และคณะ. (2564). การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าว: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวฮางงอกโพธิ์กลาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศิลปศาสตรและวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 8(2), 63-75.

ชุติมา เมฆวัน. (2562). แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ข้าวพื้นบ้าน ที่สอดคล้องกับบริบทและวิถีบริโภคของผู้บริโภค ในปัจจุบัน ในพื้นที่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 152-179.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ, (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นริสรา ลอยฟ้า. (2565). การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์และเพิ่มช่องทางการตลาดผ่านระบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าว จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 1(1), 1-19.

พรวจี บุญเลี้ยง. (2561). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์แคบหมูนายแม่ จังหวัดลำปาง. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พิจิตร ประคองศรี และพีรยานี ประคองศรี. (2565, 1 พฤศจิกายน). สำรวจสภาพปัจจุบัน ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และปัญหาการดำเนินงาน. (นันทนา แจ้งสว่าง และคณะผู้วิจัย, ผู้สัมภาษณ์)

โสมรัศมิ์ กล่ำกล่อมจิตร, ชุติพร วุฒิ, และอนุชา สีฬหาพงศธร. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้แป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ไส่สับปะรด. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 27(2), 1357-1374.

อนงค์นาฏ แก้วไพฑูรย์ และคณะ. (2563). กระบวนการสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ภาคกลาง. วารสารปัญญาปณิธาน, 5(1), 159-173.

อภิชาติ วรรณวิจิตร. (2565). ไรซ์เบอร์รี่:ต้นแบบการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเชิงเวชกรรม. เข้าถึงได้จาก https://dna.kps.ku.ac.th/index.php/research-develop /rice-research-and-knowledge/267-2020-02-04-07-33-25