การส่งเสริมและพัฒนาสถานที่พักปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

นัฏฐา มณฑล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว 2) ส่งเสริมความรู้ผู้ประกอบการในการพัฒนาสถานที่พักปลอดภัยและสถานประกอบการใส่ใจสุขภาพ และ 3) พัฒนาสถานที่พัก ปลอดภัย สถานประกอบการ ใส่ใจสุขภาพ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน จากสูตรของยามาเน กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสนทนากลุ่ม อบรมเชิงปฏิบัติการ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยสำคัญที่สุดที่นักท่องเที่ยวใช้ในการตัดสินใจเลือกที่พักคือตัวโรงแรม ห้องพัก สถานที่ร้อยละ 39.75 ข่าวหรือหาข้อมูลเกี่ยวกับที่พักในการท่องเที่ยว คือ Website ของโรงแรม ร้อยละ 45.25 กิจกรรมนันทนาการ ร้อยละ 33.40 ราคาห้องพักพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน ร้อยละ 45.00 มาตรฐานการจัดบริการที่พักหรือสถานประกอบการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.73, S.D. = 0.85) 2) การส่งเสริมความรู้ผู้ประกอบการในการพัฒนาสถานที่พักปลอดภัยและสถานประกอบการใส่ใจสุขภาพ เริ่มต้นจากการร่วมเป็นเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกัน อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการ มาตรฐานคุณภาพที่พักนักเดินทาง และมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety & Health Administration : SHA และ 3) การพัฒนาสถานที่พักปลอดภัย สถานประกอบการ ใส่ใจสุขภาพ ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ทดลองปฏิบัติร่วมกับกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ตำบลวังหมี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2563). คู่มือการปฏิบัติมาตรการผ่านปรนกิจการและกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. เข้าถึงได้จาก https://www.thailandsha.com/ file/COVID-19_th.pdf

กรมการท่องเที่ยว. (2564). หลักเกณฑ์ที่พักนักเดินทาง Home Lodge. กรุงเทพฯ : กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศปี 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/news/category/766

กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2558). การพัฒนาศักยภาพการตลาดบริการของโฮมสเตย์ที่ได้รับรองมาตรฐานในจังหวัดนครราชสีมา. (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety & Health Administration : SHA. เข้าถึงได้จาก https://www.thailandsha.com/

ดารณี อาจหาญ, เกิดศิริ เจริญวิศาล และมนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2565). การยกระดับมาตรฐานปลอดภัยด้านสุขอนามัยการท่องเที่ยวที่พัก ชุมชนวัฒนธรรมยั่งยืนหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(1), 186-204.

วัชราภรณ์ หวังพงษ์. (2566). ผลกระทบของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการบริโภคภาคเอกชนในประเทศช่วงก่อนและหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. เข้าถึงได้จาก ewt_dl_link.php (parliament.go.th)

ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา. (2566). ข้อมูลเชิงพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว. เข้าถึงได้จาก http://koratcf.or.th/reform_korat.php

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2562). “กินผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษ เดินชมตลาดน้ำ เที่ยวงานเบญจมาศบานในม่านหมอก” ที่ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. เข้าถึงได้จาก https://ref.codi.or.th/public-relations/news/16787-2019-04-02-03-37-45

สำนักประสานงานการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2564). COVID-19 ต่อภาคการท่องเที่ยวไทย ผลกระทบและแนวทางการแก้ปัญหา. เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/download/BannerLink/PBVol01Covid_DigitalEd.pdf

Yamane, T. (1970). Elementary Sampling Theory. London : Prentice-Hall, Inc.