การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

วลิดา อุ่นเรือน
เอมอร วันเอก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 9 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล 3) แบบบันทึกภาคสนามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการสร้างรูปแบบมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยให้อาจารย์ผู้สอนมีการแลกเปลี่ยนความคิด สร้างองค์ความรู้ใหม่และให้เกิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบในการจัดการเรียนการสอน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล กิจกรรมการสอนมี 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง 2) ขั้นเรียนรู้เพื่อการตั้งกรอบโจทย์ 3) ขั้นการสร้างความคิด 4) ขั้นนำความรู้สู่การสร้างต้นแบบ 5) ขั้นวัดผลและประเมินผลเพื่อการทดสอบ ผลการประเมินรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.71, S.D.=0.52) และรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 84.91/84.42 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ 3.1) ผลการประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลของอาจารย์ผู้สอนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 90.91 สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) อาจารย์ผู้สอนมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม ใช้เทคนิคการจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ มีการปฏิสัมพันธ์กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลงานการคิดเชิงออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 9 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล 3) แบบบันทึกภาคสนามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการสร้างรูปแบบมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยให้อาจารย์ผู้สอนมีการแลกเปลี่ยนความคิด สร้างองค์ความรู้ใหม่และให้เกิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบในการจัดการเรียนการสอน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล กิจกรรมการสอนมี 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง 2) ขั้นเรียนรู้เพื่อการตั้งกรอบโจทย์ 3) ขั้นการสร้างความคิด 4) ขั้นนำความรู้สู่การสร้างต้นแบบ 5) ขั้นวัดผลและประเมินผลเพื่อการทดสอบ ผลการประเมินรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.71, S.D.=0.52) และรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 84.91/84.42 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ 3.1) ผลการประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลของอาจารย์ผู้สอนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 90.91 สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) อาจารย์ผู้สอนมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม ใช้เทคนิคการจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ มีการปฏิสัมพันธ์กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลงานการคิดเชิงออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และชูจิต ตรีรัตนพันธ์ (2561). การคิดเชิงออกแบบ : เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (Design thinking: Learning by doing). กรุงเทพฯ : ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญยฤทธิ์ ปิยะศรี. (2556). รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนที่เน้น ความแตกต่างระหว่างบุคคล. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรชัย มีชาญ. (2547). ดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน. Songklanalarin Journal of Social Sciences and Humanities, 10(2), 113–125.

Anderson, T. P. (1997). Using models of instruction. In C. R. Dills, & A. J. Romiszowski (Eds), Instructional development paradigms. Englewood Cliffs, NJ : Educational Technology Publications.

ASCD Learn. Teach. Lead. (2011). Key Elements of Differentiated Instruction. ASCD. Retrieved from https://pdo.ascd.org/LMSCourses/PD11OC115M/media/DI-Intro_M4_Reading_Key_ Ele ments.pdf

ASCD Learn. Teach. Lead. (2011). What Is Differentiated Instruction and Why Differentiate?. ASCD. Retrieved from https://pdo.ascd.org/LMSCourses/ PD11OC115M/media/DI-Intro_M1_ Reading_What_Is_DI.pdf

Brophy, J. (2002). Social Constructivist Teaching: Affordances and Constraints. Retrieved from https://www.emerald.com/insight/publication/ doi/10.1016 /S1479-3687(2002)9

Eggen, P. D. & Kauchak, D. P. (2006). Strategies and Models for Teachers: Teaching content and thinking Skills. Boston : Pearson.

Joyce, B. & Weil, M. & Calhoun, E. (2004). Models of teaching. Boston : Allyn and Bacon.

Powell, K. C. & Kalina, C. J. (2009). Cognitive and social constructivism: Developing tools for an effective classroom. Education, 130(2), 241-250.

Tomlinson, C. (2001). How to Differentiate Instruction in Mixed-Ability Classrooms. (2nded). Retrieved from https://rutamaestra.santillana.com.co/wp-content/ uploads/2020/ 01/ Classrooms-2nd-Edition-By-Carol-Ann-Tomlin son .pdf

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in Society. Cambridge. MA : Harvard University Press.