แนวทางการจัดการความเสี่ยงของอุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ ภาคตะวันตกของประเทศไทย

Main Article Content

อัศนัย แย้มอาษา
ทักษญา สง่าโยธิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยความเสี่ยงภายในองค์กรและนอกองค์กร 2) วิเคราะห์ระดับและจัดลำดับความเสี่ยง 3) ศึกษาประเภทปัจจัยความเสี่ยง 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงภายในองค์กร ภายนอกองค์กร ระดับและลำดับความเสี่ยง และปัจจัยมีอิทธิพลต่อการจัดการความเสี่ยง และ 5) นำเสนอแนวทางการจัดการความเสี่ยง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่คัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ เจ้าของกิจการ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชน นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญภาครัฐ จำนวน 30 คน และผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 6 คน วิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยเสี่ยงภายในองค์กร คือ วัฒนธรรมองค์กร นโยบายการบริหาร แผนอัตรากำลัง กระบวนการทำงาน ระบบสารสนเทศ ส่วนปัจจัยเสี่ยงภายนอกองค์กร คือ การลดต้นทุนการผลิต และสถานการณ์การเมือง ด้านการตลาดเกี่ยวกับการให้บริการ มาตรฐานคุณภาพสินค้า การพัฒนาและรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ด้านแผนรองรับภัยธรรมชาติ กิจกรรม CSR และความเชื่อมั่นภาพลักษณ์องค์กร 2) ระดับและลำดับความเสี่ยงพิจารณาถึงโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ความถี่ที่จะเกิดความเสี่ยง แหล่งที่มาของความเสี่ยง ระดับความรุนแรงที่ส่งผลกระทบกับองค์กร ควรมีแผนการประเมินความเสี่ยงอย่างชัดเจน 3) ประเภทปัจจัยความเสี่ยง คือ ด้านการบริหาร ด้านกลยุทธ์การขายและการตลาด ด้านกลยุทธ์การแข่งขัน ด้านการดำเนินงาน ด้านการพัฒนาความสามารถของพนักงาน ด้านกากรปฏิบัติงาน ด้านกฎระเบียบ และด้านคู่มือการปฏิบัติงานให้ครบทุกขั้นตอน 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยความเสี่ยงภายในองค์กร ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม การบริหารงาน การบริหารคน กระบวนการทำงาน ระบบสารสนเทศ คู่แข่ง เศรษฐกิจ การเมือง ภัยธรรมชาติ ภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่น เป็นต้น และการจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง และ 5) แนวทางการจัดการความเสี่ยง โดยการกำจัดปัจจัยเสี่ยง ลดขนาดความเสี่ยง กระจายความเสี่ยง และยอมรับความเสี่ยง โดยกระบวนการกำกับดูแล พัฒนากลยุทธ์ ปรับปรุงการการบริหารการเงิน และพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

Article Details

How to Cite
แย้มอาษา อ. ., & สง่าโยธิน ท. (2025). แนวทางการจัดการความเสี่ยงของอุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ ภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 8(2), 99–116. https://doi.org/10.14456/jra.2025.34
บท
บทความวิจัย

References

คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา. (2564). การจัดการความเสี่ยงทางการท่องเที่ยว ณ ชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี. วารสารมนุษย์สังคมปริทัศน์, 23(2), 142-158.

เฉลิมพล พุ่มพวง และฐิติมา วงศ์อินตา. (2562). การวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานปลาสวยงามของจังหวัดราชบุรี. วารสาร Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(1), 679-697.

ญานินท์ เยลึ และอรวรรณ เชื้อเมืองพาน. (2565). การวิเคราะห์ความเสี่ยงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(2), 86-101.

ทักษญา สง่าโยธิน. (2567). การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนจังหวัดปัตตานีด้านห่วงโซ่คุณค่าสู่ความเป็นมืออาชีพเพื่อความยั่งยืน. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(1), 171-188.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 6/2566. เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th/th/news-and-media/news/news-202311 29.html

บมจ.ทีพีโอ โพลีน (2565). รายงานประจำปี 2565 การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ : บริษัท ทีพีโอ โพลีน จำกัด (มหาชน).

บมจ.ศูนย์บริการเหล็กสยาม. (2563). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ : บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน).

วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ, ปรียากมล เอื้องอ้าย และเวทยา ใผ่ใจดี. (2564). การบริหารความเสี่ยงในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์เคมีภัณฑ์. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 109-121.

ศุภิสรา พรายมูล และคณะ. (2561). การจัดการความเสี่ยงทางการเกษตรกรผู้ปลูก ลิ้นจี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารแก่นเกษตร, 46(2), 375-386.

อัจฉรา เมฆสุวรรณ. (2564). ผลกระทบของการจัดการความเสี่ยงต่อความอยู่รอดของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก ในจังหวัดลำปาง. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 9(1), 39-52.