การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับ การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

มนัส จันทร์พวง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2)  สร้างและตรวจสอบรูปแบบ และ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 เป็นการวิจัยแบบผสม โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทฤษฎี เอกสารงานวิจัย หนังสือ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การศึกษาสภาพปัจจุบันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 25 คน ตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน การประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของการนำรูปแบบไปใช้ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 80 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนการสอนสามารถพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิด โดยเรียนรู้จากประสบการณ์จริงร่วมกับชุมชน ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้จากการทำโครงงาน การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับอัตลักษณ์นักศึกษาวิทยาลัยชุมชน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 (HEART Model) มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน (4) การวัดและประเมินผล และ 3) ประเมินรูปแบบ ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญาณัฐ สิมสวัสดิ์. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยชุมชนเป็นฐาน: กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. วารสารศรีล้านช้างวิจัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2(6), 47-55.

โทนี วากเนอร์. (2561). คู่มือสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก. (ดลพร รุจิรวงศ์, แปล). กรุงเทพฯ : บุ๊คสเคป.

พัทธนันท์ บุตรฉุย. (2559). การพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ออนไลน์โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์อนาคตเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์เชิงธุรกิจของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตสาขาการจัดการ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2562). หลักการพื้นฐานการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนีวรรณ ตั้งภักดี. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนที่ส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อการผลิตสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 107-125.

วิภาลัย วงษา และคณะ. (2563). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(33), 133-142.

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), 179-191.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษาในสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 50-61.

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2560). การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. เข้าถึงได้จาก http://resource.tcdc.or.th/ebook/Design.Thingking.Learning.by.Doing.pdf

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. 2563). 10 ทักษะแห่งอนาคตที่นายจ้างมองหาในอีก 25 ปีข้างหน้าและระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเรียนรู้. เข้าถึงได้จาก https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/top-10-job-skills-for-

อรขวัญ คุ้มประดิษฐ์ และคณะ. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าหน่วยจัดการศึกษา สังกัดวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(3), 107-119.

Brown, T. (2552) Change by design: How design thinking transforms organizations and inspires innovation. New York : HarperCollins Publishers.

Dyer, J., Gregersen, H. & Chistensen, C. M. (2554). The innovator's DNA: Mastering the five skills of disruptive Innovators. Boston : Harvard Business School.

Joyce, B. R., Weil, M. & Calhoun, E. (2552). M. Model of Teaching. Englewood Cliff, Prentice-Hall.

Melaville, A, Berg, A. C. & Blank, M. J. (2558). Community-based learning: Engaging students for success and citizenship. Retrieved from https://digitalcommons.unomaha.edu/slcepartnerships/40

OECD. (2018). The Future of Education and Skills Education 2030. Retrieved from https://www.oecd.org/education/2030