รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 4 ตามหลักอิทธิบาท 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ 2) สร้างรูปแบบ และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 4 ตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นการวิจัยผสานวิธี ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และระยะที่ 2 สนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณใน ระยะที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลค่าความถี่ ค่าร้อยละ นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม พบว่า การดำเนินการบริหารงานวิชาการพบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหาในการดำเนินงานค่อนข้างมาก ทั้งด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ ด้านการจัดสื่อการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อ คุณภาพทางการศึกษาของนักเรียนทั้งสิ้น การบริหารสถานศึกษาจึงเป็นภารกิจของผู้บริหารที่ต้องกำหนดแบบแผน วิธีการ และขั้นตอนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้งานบรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้ 2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม ตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทาง ด้านวิชาการ ด้านการจัดสื่อการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ทั้ง 6 ด้าน มีรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านละ 4 รูปแบบ และ 3) ผลการประเมินรูปแบบรูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม ตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า ทั้ง 6 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ปิยพันธ์ ศิริรักษ์. (2563). การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 314-325.
พระเฉลิมชาติ ชาติวโร (อิทธะรงค์). (2552). ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ : นวสาส์นการพิมพ์.
พระปลัดดำรงค์ ภทฺทมุนี (แคนศิลา). (2563). รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนตามหลักพุทธธรรม โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 4. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาธีรวีร ธีรวฑฺฒนเมธี. (2564). แผนยุทธศาสตร์ การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 4 ระยะ3 ปี (พ.ศ.2563-พ.ศ.2565) ฉบับปรับปรุง 2564. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระมหาสุพจน์ สุเมโธ (พานทอง). (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาตามพุทธวิธีบริหารของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 2. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัฒน์พรชัย เมฆวิลัย. (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียน มัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิทธิชัย แสนนิทา. (2565). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุประวีณ์ ทิพย์โพธิ์.(2563). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 56-70.
อนุศักดิ์ สมิตสันต์. (2550). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการบริการการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.