การพัฒนาภูมินิเวศน์ธรรมชาติผ่านกระบวนการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชนพื้นที่ทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภูมินิเวศทุ่งแสลงหลวง และ 2) ศึกษาการพัฒนาระบบภูมินิเวศด้วยการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็นตัวแทนชุมชน หน่วยงานภาครัฐ พระสงฆ์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเนินมะปราง จำนวน 30 คน ประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการพัฒนาภูมินิเวศทุ่งแสลงหลวงมี มี 2 ประเด็น คือ 1.1) ด้านองค์ความรู้ โดยการสร้างเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือให้คำแนะนำด้านองค์ความรู้ และการรักษาภูมิปัญญา โดยใช้วัดในชุมชนเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูล เป็นแหล่งศูนย์รวมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน และ 1.2) ด้านการจัดการความรู้ เป็นการจัดแนวทางการเรียนรู้เพื่อตอบสนองชุมชนท้องถิ่นในด้านการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ โดยใช้รูปแบบการมีส่วนร่วม ระหว่างชุมชน ท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐ ในการจัดการสร้างกระบวนการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชน ได้แก่ การสร้างฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น การส่งเสริมกิจกรรมสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อรักษาและสืบทอดภูมิปัญญาในท้องถิ่น โดยหน่วยงานจัดสถานที่เหมาะสมในวัดเป็นจุดบูรณาการต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่สามารถศึกษาความรู้ ข้อมูลอัตลักษณ์ชุมชนได้ตลอดทั้งปี และ 2) การพัฒนาระบบภูมินิเวศด้วยการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน พบว่า 2.1) การให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ให้รู้จักธรรมชาติ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ โดยให้มีการศึกษาถึง นิเวศวิทยา และความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ในการดำรงชีวิต ให้ผสมกลมกลืน กับธรรมชาติที่อยู่โดยรอบ 2.2) การสร้างจิตสำนึกแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการทำให้บุคคล เห็นคุณค่าและตระหนัก ในสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ โดยการให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตใจ ของบุคคล 3) การส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยให้เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม ดำรงชีวิต จะเป็นสิ่งที่เกิดตามมา จากการให้การศึกษาและการสร้างจิตสำนึก ทำให้มีการดำรงชีวิต โดยไม่เบียดเบียนธรรมชาติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ขนิษฐนันนท์ อภิหรรษากร และคณะ. (2565). การบริหารจัดการที่ดินของประเทศไทย : กรณีศึกษาปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (มิติประชาชน). (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน.
ณัฏฐวัฒน์ แซงภูเขียว. (2563). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัย, 10(3), 265-278.
นิสากร ยินดีจันทร์ และคณะ. (2564). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 248-260.
ประคอง มาโต, พระครูอุเทศธรรมสาทิส, ชลิต วงษ์สกุล และพัททดล เสวตวรรณ. (2567). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ. วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 39-52.
ภูวดล บัวบางพลู. (2561). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 91-101.
เมตตา เก่งชูวงศ์ และคณะ. (2562). ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านปลาบู่ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc. go.th
สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. (2565). อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง. เข้าถึงได้จาก https://nps.dnp.go.th.