การปรับตัวของชุมชนโดยการใช้ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมในการจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเสียวใหญ่ตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของชุมชนโดยการใช้ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมในการจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเสียวใหญ่ตอนบน เก็บข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 35 รูป/คน พบว่า การซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการปรับตัวของชุมชน โดยการใช้ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม ในการจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเสียวใหญ่ตอนบน โดยมีการปรับตัวของชุมชน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) การปรับตัวด้านสังคม เป็นทุนทางสังคม ได้แก่ ทุนทางครอบครัว และทุนทางเครือญาติ 2) การปรับตัวด้านเศรษฐกิจ โดยอาศัยลุ่มน้ำเสียวใหญ่เป็นพื้นที่ทำมาหากิน คือ ภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร 3) การปรับตัวด้านภูมิปัญญา สอนให้คนเคารพและพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ให้ความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว 4) การปรับตัวด้านความเชื่อ โดยมีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งลี้ลับตามลุ่มน้ำเสียวใหญ่ ได้แก่ รุกขเทวดา ผีสาง และพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ดอนปู่ตา 5) การปรับตัวด้านทรัพยากร ได้กำหนดขอบเขตพื้นที่ในการทำมาหากินอย่างชัดเจน คือ ห้ามตัดไม้ทำลายป่า ห้ามจับสัตว์น้ำในช่วงวางไข่ และ 6) การปรับตัวด้านประเพณีพิธีกรรม เพื่อให้ชาวบ้านตระหนักถึงการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ และช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติในป่า ไม่เข้าไปตัดไม้เก็บของป่า ไม่ล่าสัตว์ในช่วงห้ามตามฤดู ลุ่มน้ำเสียวใหญ่ตอนบน จึงมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคม รวมไปถึงความเป็นอยู่ในการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนในลุ่มน้ำเสียวใหญ่ตอนบน ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ คนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเป็นการอนุรักษ์ลุ่มน้ำเสียวใหญ่ให้คงอยู่ตลอดไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
พระกฤษฎา สุเมโธ (สารนอก). (2567). ปฏิรูปเทสที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา.วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 373-387.
ราชันย์ หลงมีวงษ์. (2545). ผลกระทบต่อระบบนิเวศลุ่มน้ำเสียวใหญ่ตอนบน. มหาสารคาม : สำนักชลประทานที่ 6 กรมชลประทานจังหวัดมหาสารคาม.
วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2548). โครงการศึกษาทุนทางสังคมในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิตของเศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2558). ชุมชน ความเป็นส่วนตัว และการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและการจัดการ, 17(1), 1-27.
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สุวรรณี คำมั่น และคณะ. (2551). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.